Page 61 - Culture1-2018
P. 61
บาบ๋า เป็นค�าที่เราคนไทยใช้เรียกวัฒนธรรมลูกผสม ที่มีความเป็นมายาวนาน
มีเรื่องราวเรื่องเล่าเป็นรายละเอียดต่างๆ หลากหลาย ในระยะแรกสืบเนื่องจาก
การที่ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง กองเรือเป่าฉวน ที่น�าโดยอัครมหาเสนาบดีขันที
เจิ้งเหอ น�ากองเรือจีนราชวงศ์หมิง มุ่งลงทะเลใต้ เดินเรือเพื่อค้าขาย ส�ารวจ
และขยายการทูตข้ามสมุทรเข้ามายังดินแดนหมู่เกาะในแถบหมู่เกาะเครื่องเทศ
และช่องแคบมะละกา อันเป็นดินแดนประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์
และบรูไนในปัจจุบัน ในครั้งนั้นการเข้ามาของกองเรือจีนได้รับการขานรับจาก
ผู้ปกครองดินแดน สุลต่านแห่งแว่นแคว้นต่างๆ ในแถบนี้ ต่อมาชาวเรือจีน
ที่ข้ามทะเลมาท�าการค้าขายที่มีแต่ผู้ชาย ไม่สามารถกลับบ้านได้ในระยะเวลาสั้นๆ
จึงได้รับอนุญาตให้แต่งงานอยู่กินกับหญิงชาวมลายู สร้างครอบครัวที่อยู่อาศัย
มีลูกมีหลานสืบต่อกันมา
การสร้างครอบครัวของคู่ผสมสองเชื้อชาตินี้ ก็คือการสร้างปัจจัยสี่ในการ
ด�ารงชีวิตที่ผสมผสานร่วมกันนั้นเอง คือ มีทั้งเรื่องอาหารการกิน ที่อยู่อาศัย
เครื่องนุ่งห่ม และกระทั่งยารักษาโรค และที่พิเศษแบบไม่เป็นทางการสักหน่อย
ก็คือ ชาวคู่ผสมเหล่านี้เป็นครอบครัวชาวส�าเภาค้าขาย เป็นพ่อค้าวาณิชที่มี
ความรู้ เห็นโลกมามากกว่าชาวพื้นเมือง มีทุนทรัพย์มาก มีปมเด่นกว่าชาวพื้นเมือง
ทั่วไป ดังนั้นการผสมผสานใดๆ ที่เกิดขึ้นจึงเป็นการผสมผสานที่มีลักษณะพิเศษ
มีการแสดงตัวตนที่ไม่ใช่ชาวบ้านพื้นเมืองธรรมดาๆ อยู่ในที
ภาษามลายู ได้สร้างค�าศัพท์เฉพาะเป็นค�าใหม่ขึ้นด้วยการผสมผสาน
ค�าเก่าเข้าด้วยกัน เป็นค�าว่า Peranakan อันมีความหมายถึงเรื่องราวของเด็กๆ
ซึ่งหมายถึงลูกผสมของคนสองเชื้อชาติ ซึ่งมีทั้งลูกผู้หญิงและลูกผู้ชาย ในลูกผู้ชาย
มีค�าภาษาพื้นเมืองเรียกว่า บาบ๋า นั้นเอง ส่วนค�าว่า ย่าหยา เป็นค�าที่มาทีหลัง
ถัดจากการผสมผสานสองสัญชาติ จีน และมลายู ในช่วงถัดจากนั้น คือใน
ราว พ.ศ. ๒๔๐๐ เป็นต้นมา ดินแดนหมู่เกาะและคาบสมุทรแถบนี้ต้องผจญกับ
ลัทธิล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาเป็นเจ้า
อาณานิคมคือ โปรตุเกส จึงมีชาวโปรตุเกสเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกวัฒนธรรม
Peranakan ด้วยอีกชาติหนึ่งไปโดยปริยาย แต่ไม่ใช่แค่นั้น เอาเข้าจริงกองทหาร
ขนมบาบ๋า ต่างๆ หลากหลาย ของชาวภูเก็ตวันนี้ โปรตุเกสนั้น จริงๆ มีฝรั่งอยู่ไม่มาก เพราะกว่าจะมาถึงที่นี่ โปรตุเกสก็มี
มีทั้งขนมแนวจีน ไทย ฝรั่ง กระทั่งอิสลาม
สมกับความเป็นชาวเชื้อชาติผสมผสาน “เปอรานากัน” อาณานิคมอยู่ในอาฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย มาก่อน เพราะฉะนั้น
Peranakan ในช่วงนี้ จึงขยายตัวหลากหลาย เพราะวัฒนธรรมที่เข้ามาผสมผสาน
ไม่ใช่จะมีแต่ฝรั่งเท่านั้น ยังมีชาวอาฟริกา ตะวันออกกลาง และชาวอินเดีย
ในนามชาวโปรตุเกสเข้ามาร่วมด้วย
และหลังจากที่โปรตุเกสเข้ามาประสมประสานแล้ว ต่อๆ มายังมีฮอลันดา
อังกฤษ และผู้คนในบังคับฮอลันดากับอังกฤษทั้งหลายอีกหลากหลายกลุ่ม ในที่สุด
ค�าว่า Peranakan จึงอนุโลมให้เป็นการเรียกวัฒนธรรมประสมประสานระหว่าง
วัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก โดยไม่ระบุเชื้อชาติแน่นอน
มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑ 59