Page 92 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 92
พื้นบานพื้นเมือง
ทรงยศ กมลทวิกุล เรื่อง
สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ และ ยอด เนตรสุวรรณ ภาพ
แรงบันดาลใจ
จากทองทุงกสิกรรม ๑
ทุ่งกสิกรรมมิได้ก่อเกิดเพียงผลผลิตที่นอกจากจะหล่อเลี้ยงชีวิตคนเมืองเท่านั้น ยังหล่อเลี้ยงเกษตรกรผู้ลงมือไถหว่าน
เพาะปลูกด้วย อีกทั้งทุ่งกสิกรรมยังเป็นแรงบันดาลใจก่อเกิดงานหัตถศิลป์ที่สวยงามด้วยฝีไม้ลายมือบนเครื่องทุ่นแรง
การเกษตร อย่างเช่น เกวียน จนถึงอีแต๊กและอีแต๋นที่เข้ามาท�าหน้าที่แทนในผืนไร่ผืนนาทั่วถิ่นเมืองไทยทุกวันนี้
“ควายเทียม” เป็นการเปรียบเทียบที่เห็นภาพ เพราะการมาถึง
ของเครื่องยนต์ขนาดเล็กนั้นถูกน�ามาใช้แทนควาย ซึ่งเรียกกันติดปากว่า
รถไถ บางที่ก็เรียกว่า อีโก่ง เริ่มต้นจากรถไถเดินตาม ก่อนพัฒนาไปสู่
การประดิษฐ์อุปกรณ์เสริมให้เครื่องยนต์ขนาดเล็กมิเพียงแต่ลากจูง
คันไถเท่านั้น ยังพ่วงลากขนส่งผลผลิต ใช้ต่างพาหนะในการเดินทาง
ไปไหนมาไหนละแวกบ้านด้วย
เครื่องยนต์ขนาดเล็กเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ช่างฝีมือที่รับสร้างตัว
รองรับเครื่องยนต์ ซึ่งในยุคแรก ๆ ส่วนหนึ่งก็เป็นช่างไม้ที่ท�างานเกวียน
มาก่อน เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป จากเกวียนจึงเปลี่ยนมาเป็น
ส่วนพ่วงลากที่ติดล้อแบบรถยนต์สมัยใหม่เข้าไป แต่ตัวกระบะยังคงเป็น
ไม้เช่นเดิม และค่อย ๆ เพิ่มความสะดวกสบายขึ้น จากอีโก่ง อีตั๊กหรือ
อีแต๊ก มาสู่อีแต๋น ขนาดเล็กแบบไทย
รถอีแต๋นเป็นรถบรรทุกเกษตรขนาดเล็กที่ประดิษฐ์โดยช่างฝีมือ
ท้องถิ่นของไทย เพื่อรองรับตลาดในภาคเกษตร ที่ส�าคัญรถอีแต๋นมีความ
สามารถหลากหลาย มิเพียงแต่ขับเคลื่อนขนส่งพืชผลใช้ในชีวิตประจ�าวัน ภาพ ๑ รถอีแต๋นโฉมหน้าสุดสวย ฝีไม้ลายมือเด่นเป็นเอกลักษณ์ของ
เท่านั้น ยังใช้ในงานในท้องทุ่งทั้งปั่นไฟ สูบน�้า เรียกได้ว่าเป็นคู่หูที่เกษตรกร ช่างประทีป ชาวหนองบัว นครสวรรค์
ไม่อาจขาดได้ อีกทั้งยังมีความทนทานเหมาะกับสภาพพื้นที่การใช้งาน ภาพ ๒ หัวไร่ปลายนาทั่วไทยต้องมีอีแต๋นแล่นเฉิดฉายไปมาเสมอ
90