Page 100 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 100
ประเทศในแถบลุ่มแม่น�้าโขงกินข้าวเป็นอาหารหลักเพราะอยู่ในภูมิภาคที่
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ดิน และน�้า ล้วนเอื้ออ�านวยให้
ปลูกข้าวได้ดี ข้าวจึงเป็นพืชพื้นถิ่นของเอเชียมาแต่โบราณกาล ในขณะที่ข้าวสาลี
เป็นพืชพื้นถิ่นของตะวันออกกลาง และข้าวโพดเป็นพืชพื้นถิ่นของทวีปอเมริกา
“วัฒนธรรมเหล่านี้ตั้งอยู่บนอาหารชุดหนึ่ง แต่อาหารที่ส�าคัญที่สุดคือธัญพืช
ข้าวสาลี และข้าวบาร์เลย์ในตะวันออกใกล้ ข้าวเจ้าและข้าวฟ่างในเอเชีย รวมถึง
ข้าวโพดในอเมริกา” ๑
ขนมปังซึ่งท�ามาจากแป้งสาลีเป็นของต่างถิ่นที่เข้ามาในภายหลัง ข้าวสาลี
อาจจะเดินทางมาจากอินเดียเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับการเดินทาง
ของพันธุ์พืชจากต่างแดนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มาพร้อมกับการเดินเรือ
เพื่อแสวงหาโลกใหม่ของชาวโปรตุเกสและสเปน ในสมัยก่อนข้าวสาลีถือเป็น
ของฟุ่มเฟือยมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะได้กิน ดังบันทึกในจดหมายเหตุลาลูแบร์
ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
“...แต่จะเป็นด้วยต้องเอาใจใส่มาก หรือสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายหรือว่าข้าว (สาร)
นั้นมีมากพอส�าหรับราษฎรสามัญจะใช้บริโภคกันอย่างเหลือเฟือแล้วอย่างใด
อย่างหนึ่ง ในประเทศสยามนั้นจึงยังมีแต่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์เดียวเท่านั้นที่มี
ไร่ข้าวสาลีอยู่ และลางทีก็อาจเป็นเพราะทรงเห็นว่าเป็นของแปลกมากกว่าจะทรง
นิยมในรสชาติของมันก็เป็นได้ ชาวสยามเรียกข้าวชนิดนี้ว่า ข้าวโพดสาลี (Kaou
possali) และค�าว่า ข้าว (Du riz) หมายถึงข้าวเจ้าอย่างเดียว...ชาวฝรั่งเศสที่อยู่
ในประเทศสยาม สั่งแป้งสาลีมาจากเมืองสุรัตทั้ง ๆ ที่ใกล้ ๆ กรุงสยาม (ศรีอยุธยา)
ก็มีโรงสีลมส�าหรับบดข้าวสาลีอยู่แห่งหนึ่ง และที่ใกล้เมืองละโว้ก็มีอีกแห่งหนึ่ง...
๒
อนึ่ง ขนมปังสดที่พระเจ้ากรุงสยามโปรดพระราชทาน
แก่พวกเรานั้นแห้งผากเกินไป กระทั่งว่าข้าวสวยที่หุงด้วย
น�้าบริสุทธิ์นั้นมาตรว่าจะจืดชืดเพียงไร ข้าพเจ้าก็ยังเห็นว่า
๒
น่าบริโภคมากกว่าเป็นกอง...”
ในบันทึกการเดินทางของโจวต้ากวน หนึ่งในคณะ
ราชทูตจีนที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรขอม
ที่นครธม เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ เป็นหลักฐานอีกชิ้นหนึ่งที่กล่าวถึง
สินค้าจากเมืองจีนที่ชาวเขมรต้องการว่า “สิ่งที่เขาอยากได้
มากที่สุดก็คือ ถั่วกับแป้งสาลีแต่ก็เอาออกไปจากเมืองจีน
ไม่ได้” ในหัวข้อเกลือ น�้าส้ม น�้าซีอิ้ว แป้งหมี่ กล่าวว่า “เขาไม่
๑ รู้จักท�าน�้าซีอิ้วเช่นเดียวกัน เพราะไม่มีแป้งสาลีและถั่ว” ๓
๑ Tom Standage. ประวัติศาสตร์กินได้. แปลโดย โตมร ศุขปรีชา. หน้า ๓๐.
๒ ลาลูแบร์, มองซิเออร์ เดอ. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์ ราชอาณาจักรสยาม. แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. หน้า ๖๖.
๓ เฉลิม ยงบุญเกิด. บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจินละ. หน้า ๓๓-๓๔, ๓๗.
๔ Tom Standage. ประวัติศาสตร์กินได้. แปลโดย โตมร ศุขปรีชา. หน้า ๑๙๒.
98