Page 67 - E-Book Culture 02_20182
P. 67

ภาษาญ้อ











                         คนญ้อหรือไทญ้อ เป็นกลุ่มคนดั้งเดิมบน

                    ดินแดนอุษาคเนย์กลุ่มหนึ่ง อพยพเข้ามาตั้ง
                    ถิ่นฐานริมแม่น�้าโขงฝั่งไทย  และลึกเข้ามาใน

                    แผ่นดินอีสาน  คนญ้อ มีภาษาของตนเอง
                    เรียกว่า ภาษาญ้อ ซึ่งมีความไพเราะมีศัพท์

                    เฉพาะหลากหลายน่าสนใจ  เป็นภาษาที่จัดอยู่

                    ในตระกูลไท (Tai) แต่ก่อนที่จะเรียนรู้ลักษณะ
                    ภาษาญ้อ จะขอกล่าวถึงประวัติและการตั้ง

                    ถิ่นฐานของคนญ้อพอเป็นสังเขป







                    ถิ่นฐานคนญ้อ


                        เมื่อ ๒๐๐ ปีก่อน คนญ้ออพยพมาจากเมืองค�าเกิด แขวงค�าม่วนใน สปป.ลาว เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเมือง
                    ชัยสุตอุตมะบุรี ต�าบลไชยบุรี อ�าเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม (ปัจจุบันเมืองชัยสุดอุตะมะ ในสปป.ลาว
                    หลงเหลือร่องรอยเป็นวัดร้าง ๓ แห่ง ได้แก่ วัดกลาง วัดศรีบุญเรือง และวัดยอดแก้ว เท่านั้น) ต่อมาเกิด
                    สงครามจึงได้มีการอพยพออกไปตั้งเมืองที่อ�าเภอโปงเลงใกล้ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายได้ย้ายกลับมาตั้ง
                    ถิ่นฐานที่อ�าเภอท่าอุเทนอีกครั้ง อย่างไรก็ตามปัจจุบันพบผู้ที่พูดภาษาญ้อในหลายพื้นที่ เช่น อ�าเภอท่าบ่อ และ
                    อ�าเภอเมือง จังหวัดหนองคาย, อ�าเภอท่าอุเทน ต�าบลธาตุเชิงชุม อ�าเภอนาหว้า อ�าเภอศรีสงคราม และอ�าเภอ

                    เรณูนคร จังหวัดนครพนม, เขตอ�าเภอวานรนิวาส สว่างแดนดิน อากาศอ�านวย กุดบาก กุสุมาลย์ และอ�าเภอ
                    เมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร, บ้านโพนสิม ต�าบลหัวนาค�า อ�าเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ และบ้านท่า
                    ขอนยาง ต�าบลท่าขอนยาง อ�าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม นอกจากนี้ยังมีพูดกันในอ�าเภอคลองน�้าใส
                    จังหวัดจันทบุรี อีกด้วย







                                                                                               เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑  65
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72