Page 65 - E-Book Culture 02_20182
P. 65
ขนมเบื้อง จึงเป็นหนึ่งในขนมต�ารับไทยที่มีพัฒนาการเติบโตขึ้นเคียงข้าง
มากับการเปลี่ยนผ่านต่างๆ ในทุกยุคสมัย นับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนจากขนมโบราณที่ไร้
แป้งขาวรองผิวพื้นมาเป็นรองแป้งขาวก่อนจะมีการประยุกต์ให้มีทั้งไส้เค็มและไส้หวาน
ที่มีเครื่องผัดแตกต่างกันไปตามสูตร บางสูตรได้พัฒนาไปสู่แบบแป้งหนา เครื่องเยอะ
เปลี่ยนจากบางกรอบไปสู่หนานุ่ม ทว่าก็ยังมีแม่ค้าโบราณหลายรายที่ยังแน่วแน่ที่จะยึด
สูตรขนมเบื้องไทยแผ่นบาง ชิ้นเล็กๆ พอดีค�า และความเข้มข้นของหน้าเค็มหน้าหวาน
ที่ต้อง “ถึงเครื่อง” อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
ในวันนี้ หากใครคิดถึงขนมเบื้องไทยแบบโบราณ อาจต้องไปหาตามร้านขนมไทย
ที่ส่วนใหญ่เปิดขายอยู่ตามร้านโบราณย่านเก่าแก่ อย่างในแถบย่านเก่าของเกาะ
รัตนโกสินทร์ เช่น บางล�าพู ถนนดินสอ นางเลิ้ง หรือข้ามฟากไปแถบพรานนก
ขนมเบื้องขึ้นห้างฯ เมืองนนทบุรี หรือตามชุมชนโบราณริมแม่น�้าเจ้าพระยา อันเป็นถิ่นฐานของคนกรุงเทพฯ
แสดงถึงความนิยมในการบริโภคขนมเบื้อง
ของคนในยุคปัจจุบัน ดั้งเดิมแต่โบราณ ซึ่งปัจจุบันมีร้านขนมไทยโบราณหลากหลายเจ้า ได้ขยายกิจการและ
สืบทอดเคล็ดลับและองค์ความรู้ในการท�าขนมไทยโบราณไว้ได้อย่างเป็นระบบระเบียบ
มีช่องทางการขาย การประชาสัมพันธ์ รวมถึงการอนุรักษ์และเผยแพร่อันหลากหลาย
ตามพัฒนาการทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
บนแป้นเตาเหล็กแรงร้อนนั้น ค่อยปรากฏรูปร่างของแป้งและเครื่องผสม
สีน�้าตาลที่ค่อยๆ สุกจนนวลหอม สองมือของคนท�าขนมโบราณค่อยๆ ปาดแป้งขาว
ลงทาบทับ ก่อนจะหยิบเครื่องผัดคาวหวานสักหยิบมือบรรจงวางข้างบนและสักครู่
เมื่อขนมเบื้องไทยสุกกรอบหอมและร่อนออกจากเต้าเหล็กร้อนแรง ใช่เพียงความอร่อย
ต�ารับดั้งเดิมจะได้ท�าหน้าที่ของมัน แต่อาจหมายถึงเรื่องราวมรดกทางภูมิปัญญา
ในอาหารการกินและความเป็นอยู่ที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยอันตกทอดมาแต่
โบราณกาลก�าลังได้รับการสืบทอดต่อเนื่องผ่านขนมชิ้นเล็กๆ อย่างเปี่ยมค่าและ
แสนรื่นรมย์
การละเลงขนมเบื้องบนเตาเหล็ก
เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑ 63