Page 60 - E-Book Culture 02_20182
P. 60
เราเคยคุ้นกับขนมเบื้องไทยตั้งแต่วัยเยาว์ ขนมเบื้อง กรอบอร่อยที่มีรูปทรงและ
รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ มีทั้งไส้เค็มและหวานชนิดนี้ ตกทอดความเก่าแก่เคียงข้าง
ประวัติศาสตร์ชาติ และสะท้อนมิติทางวัฒนธรรมของบ้านเรามาแล้วอย่างยาวนาน
ว่ากันว่าขนมเบื้องเดินทางเข้าสู่แผ่นดินไทยและประเทศใกล้เคียงโดยพราหมณ์
จากอินเดียที่มาถึงแผ่นดินสุวรรณภูมิพร้อมพระพุทธศาสนา รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรม
ต่างๆ ที่มีการค้นพบภาพเขียนเกี่ยวกับการท�าขนมเบื้องในวัดแห่งหนึ่งที่ จ.สุโขทัย และ
ในวรรณกรรมโบราณอย่าง “ธรรมบทเผด็จ” ที่ตกทอดมาเคียงคู่กัน ซึ่งกล่าวถึงเศรษฐี
โกสิยะผู้ตระหนี่ถี่เหนียว ครั้งหนึ่งเมื่ออยากกินขนมเบื้องขึ้นมา จึงให้ภรรยาขึ้นไป
ท�าขนมเบื้องบนปราสาท ๗ ชั้นเพื่อปิดปังไม่ให้ใครรู้ จะได้ไม่ต้องแบ่งปันให้ใครกิน
พอดีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงและรับรู้โดย
พระโพธิญาณ จึงให้พระโมคคัลลานะไปขอรับบิณฑบาตรขนมเบื้องนั้นมา โกสิยะให้รู้สึก
แปลกใจที่พระภิกษุรู้ถึงการกระท�าของตนได้ จึงสั่งคนใช้ให้ทอดขนมชิ้นเล็กๆ ถวาย
แต่ทุกครั้งที่ละเลงแป้ง แป้งก็จะฟูเต็มกระทะ เมื่อเสียดายก็สั่งให้ท�าใหม่ ทว่าขนม
ก็กลับฟูขึ้นอีกทุกครั้ง เมื่อสุดความพยายาม โกสิยะจึงให้ถวายขนมชิ้นนั้นกับ
พระโมคคัลลานะไป
พระโมคคัลลานะ จึงใช้โอกาสนั้นเทศนาสั่งสอนโกสิยะถึงเรื่องความตระหนี่
ถี่เหนียว จนโกสิยะและภรรยาได้บรรลุธรรมและเปลี่ยนกลับมาเป็นคนใจบุญ
ชื่อขนมเบื้องนั้น สันนิษฐานว่ามาจากการละเลงแป้งลงบนแผ่นกระเบื้องเผาไฟ
ร้อนแดงฉาน หลักฐานความเก่าแก่ของขนมเบื้องตกทอดเคียงข้างประวัติศาสตร์ไทย
ทุกยุคสมัยในแผ่นดินอยุธยา ขนมเบื้อง ปรากฏกล่าวถึงในวรรณกรรม ขุนช้างขุนแผน
ตอนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้า ประชันฝีมือท�าขนมเบื้องกันว่า
“สร้อยฟ้า ศรีมาลา ว่าเจ้าค่ะ ตั้งกะทะก่อไฟอยู่อึงมี่
ข้าไทวิ่งไขว่ไปทันที ขัดสีกะทะยุ่งกุ้งสับไป
ศรีมาลา ก็ละเลงแต่บางบาง แซะใส่จานพานวางออกไปให้
สร้อยฟ้าเทราดแซะขาดไป ขัดใจแม่ก็ปาลงเต็มที
พลายชุมพลจึงว่าพี่สร้อยฟ้า ท�าขนมเบื้องหนาเหมือนแป้งจี่
พลายงามร้องว่ามันหนาดี ทองประศรี ว่าเหวยกูไม่เคยพบ”
58