Page 34 - E-Book Culture 02_20182
P. 34
สืบสาวเล่าเรื่อง
เรื่อง : อภินันท์ บัวหภักดี
ภาพจิตรกรรม : เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย
ขุนช้าง ขุนแผน
นิทานพื้นบ้าน
สุดยอดวรรณกรรมเสภาไทย
วรรณกรรมเรื่อง ขุนช้างขุนแผน เป็นนิทานพื้นบ้าน
ของไทย ซึ่งเชื่อว่ามีเค้ามูลความจริงอันน่าจะเกิดขึ้นใน
สมัยพระรามาธิบดี ที่ ๒ เจ้าสามพระยา แห่งกรุงศรีอยุธยา
ตอนต้น ประมาณ พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒ ซึ่งยุคนั้น
เป็นยุคแห่งแสนยานุภาพอันเกรียงไกรของกองทัพ
กรุงศรีอยุธยาที่สามารถเผยแผ่พระบรมเดชานุภาพ
แห่งองค์พระมหากษัตริย์ ออกไปได้กว้างไกลถึงเมือง
เชียงใหม่ และล้านช้าง จากนั้นจะโดยผู้ใดไม่ปรากฏชื่อ
ได้สร้างสรรค์ให้ผู้มีตัวตนจริงกลับกลายเป็นตัวละคร และ
ตัวละครก็กลับมีเรื่องราวมากหลายประดุจดังมีชีวิตจริง
ด้วยฉากหลังที่เป็นภาพจริงๆ ในยุคนั้นของเมืองสุพรรณบุรี
กาญจนบุรี และกรุงศรีอยุธยา จนเกิดเป็นนิทานมุขปาฐะ
หรือนิทานเล่าปากเปล่า เรื่องขุนช้างขุนแผน เรื่องราว
อันแสนสนุกสนาน ซาบซึ้ง และประทับใจ เสียจนผู้คน
พากันเล่าขานนิทานเรื่องนี้สืบต่อๆ กันมาหลายชั่วอายุคน
กระทั่งภายหลัง เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2
เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ก็ยังไปปรากฏในหนังสือ “ค�าให้การ
ของชาวกรุงเก่า” ที่กล่าวถึงเรื่องราวกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัย
ของพระมหากษัตริย์ พระนามว่า พระพันวสา ซึ่งกลับ
คล้ายคลึงกับ นิทานเรื่องขุนช้างขุนแผน หรือค�าให้การ
ใน “ค�าให้การของชาวกรุงเก่า” จะจงใจเล่านิทานให้
อาลักษณ์พม่าฟังหรืออย่างไร
เปิดเรื่อง ขุนช้างขุนแผน บ้านท่าสิบเบี้ย เรือนขุนศรีวิไชย
มาข้าจะกล่าวบทไป ถึงขุนศรีวิไชยคนขยัน
เป็นนายกรมช้างกองนอกนั้น บ้านอยู่สุพรรณพารา
เป็นเศรษฐีมีทรัพย์นับร้อย บ่าวไพร่ใหญ่น้อยก็หนักหนา
ได้นางเทพทองเป็นภรรยา อยู่ท่าสิบเบี้ยเมืองสุพรรณ ภาพ : จิตรกรรมฝาผนังวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ฝีมือ เมืองสิงห์ จันทร์ฉาย
32