Page 115 - Culture1-2018
P. 115
ตัวผมเองมีอาชีพเป็นสถาปนิก ท�ามาหากินอยู่บริเวณนี้มาหลาย
สิบปี ได้ยินได้ฟังเรื่องนี้มานานก็เลยลองบันทึกข้อมูลหลากหลายเอาไว้
อยากจะหยิบมาขยายความให้คุณๆ ได้รับรู้ไว้เป็นเครื่องประเทือง
ปัญญาและบันเทิงอารมณ์กันสักหน่อยดังต่อไปนี้ ครับ
ณ ดินแดน หมู่เกาะเครื่องเทศ หรือ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก
“ชิโน ปอร์ตุกีส” ซึ่งหมายถึงหมู่เกาะหลากหลายในทะเลจีนใต้ ของภูมิภาคอาเซียน อัน
เป็นดินแดน ประเทศมาเลเซีย บรูไน ติมอร์ สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย
ในปัจจุบัน ราวปี พ.ศ. ๒๐๐๐ เป็นต้นมา เป็นช่วงที่อาณาจักรจีน
อยู่ในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงติดต่อกัน ตั้งแต่ครั้งนั้น
อาณาจักรจีนกับดินแดนแถบนี้ได้มีการติดต่อค้าขายไปมาหาสู่กัน
มานานแล้ว การเดินเรือค้าขายเพียงด้วยการแล่นลมเล่นใบของส�าเภา
จีน ท�าให้ลูกเรือพ่อค้าวาณิชย์ที่มาท�าการค้าขายในดินแดนแถบนี้ต้อง
ติดลมมรสุมพักค้างรอลมกันอยู่ในหมู่เกาะต่างๆ เป็นเวลานานๆ
แล้ว “บุพเพสันนิวาส” ก็ปฏิบัติการ ค�าว่า Peranakan จึงเกิดขึ้น
Peranakan คือ อะไรกัน
Peranakan ค�านี้เป็นภาษามลายูที่เป็น ค�าใหม่ เพิ่งเกิดขึ้น ผู้รู้
ภาษานี้ให้ข้อมูลว่า ค�า Per เป็น Prefix แปลว่า เกี่ยวกับ หรือ มาก
ค�าว่า Anak แปลว่า เด็กๆ หรือ ลูกๆ และ An เป็น Suffix ท�าให้
ค�าข้างหน้าเป็นค�านาม ค�าว่า Peranakan จึงมีค�าแปลตรงๆ ว่า
เกี่ยวกับเด็กๆ หรือลูกๆ เป็นค�าที่บัญญัติขึ้นมาใหม่เพื่อให้นิยามคน
สองสัญชาติ ซึ่งบุพเพสันนิวาสชักน�าให้ได้มาครองคู่กันแม้จะเกิดมา
อยู่คนละมุมโลก คือ คนจีนกับคนมลายู ค�าๆ นี้ ไม่ได้ใช้เรียกเฉพาะคน
หากยังใช้เรียกวัฒนธรรมใหม่ที่ผิดแผกไปจากเดิม เป็นวัฒนธรรมที่
คนกลุ่มนี้ได้ผสมผสานส่วนดีของวัฒนธรรมทั้งสองฝ่ายเข้ามาใช้ร่วมกัน
เพื่อด�ารงชีวิตในดินแดนนี้ต่อมาอย่างมีความสุข
อาคารแบบที่เรียกว่า “อั้งม่อหลาว” หรือตึกฝรั่ง
หลังที่งามที่สุดหลังหนึ่งในภูเก็ต
เดิมเป็นบ้านพระพิทักษ์ชินประชา
ปัจจุบันเป็นภัตตาคารชื่อ Blue Elephant
มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑ 113