Page 74 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 74
ภาพ ๑-๓ ชีวิตความเป็นอยู่
ของชาวมานิในบริเวณที่อยู่
อาศัยกลางป่าในจังหวัดสตูล
๑
ตามรอยมานิ
มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง อาศัยอยู่ในป่าบริเวณเทือกเขา
บรรทัด ในเขตจังหวัดตรัง สตูล และพัทลุง มีประชากรโดย
ประมาณ ๓๐๐ คน ค�าว่า มานิ หรือ มันนิ หมายถึง คนหรือมนุษย์
เป็นชื่อที่กลุ่มชาติพันธุ์นี้ใช้เรียกตนเอง แต่คนทั่วไปรู้จักในนาม
เงาะป่า หรือ ซาไก เนื่องจากมีลักษณะทางกายภาพที่มีผมหยิก ผิวคล�้า
ค�านี้หมายถึง ทาส คนป่า คนเถื่อน เป็นค�าที่คนอื่นเรียกคนกลุ่มนี้
นักวิชาการด้านโบราณคดีเชื่อว่า มานิ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่
อาศัยอยู่ในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากว่าหมื่นปี มีเชื้อสาย
นิกริโต (Nigrito) เป็นกลุ่มย่อยของนิกรอยด์ (Negroid) และยังคง
ด�ารงอยู่กระทั่งปัจจุบัน โดยเฉพาะเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของมานิ
ที่เรียกว่า วัฒนธรรมแบบหาของป่า-ล่าสัตว์ (Hunting Gathering
Society) โดยลักษณะทางวัฒนธรรมแบบนี้เน้นการปรับตัวให้อยู่
ร่วมกับระบบนิเวศวิทยาทางธรรมชาติ โดยใช้ความรู้ภูมิปัญญาการ ๒
ด�ารงชีวิตในป่า เช่น ความรู้ด้านการล่าสัตว์ การท�ากระบอกไม้ซาง
72