Page 49 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 49
กีฬา การละเล่น
ทรงยศ กมลทวิกุล เรื่อง
ยอด เนตรสุวรรณ ภาพ
๒
ตีโพน เมืองพัทลุง
วิถีแหงกลองทองถิ่นใต
คือภูมิปัญญา คือวิถีชีวิตวัฒนธรรมและพุทธ
ศาสนา
นี่อาจเป็นความเชื่อมโยงที่สามารถบอกกล่าวได้เป็น
เบื้องต้นเมื่อพูดถึงโพน หรือตะโพน กลองของภาคใต้หรือกลองเพล
ของภาคกลาง จัดอยู่ในเครื่องดนตรีประเภทตี
ตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบันโพนของท้องถิ่นภาคใต้มีหน้าที่
ส�าคัญประการหนึ่งมิเคยเปลี่ยนแปลง นั่นคือ การเป็นเครื่องตี
บอกเวลาในวัด ใช้ตีประโคมเรือพระในเทศกาลออกพรรษาหรือ
ชักพระ เรียกว่า “คุมโพน”
ในภาคใต้โพนถือเป็นสมบัติของวัดที่ใช้ในโอกาสต่าง ๆ
อาทิ ตีโพนบอกเวลาพระฉันภัตตาหาร บอกเวลาในวันที่ไม่เห็น
ดวงอาทิตย์ติดต่อกันเป็นเวลานาน บอกสัญญาณนัดแนะประชุม
หรือรวมกลุ่ม เตือนการเตรียมงานของกลุ่ม เช่น ลากพระ รับกฐิน
รวมถึงตีโพนบอกเหตุร้ายหรือขอความช่วยเหลือ หรือเร่งเร้า
ภาพ ๑ การแข่งโพนไม่จ�ากัดวัยที่จะประชัน คู่แข่งขันจะประกบกันตีโพน ความพร้อมของหมู่คณะ เช่น ลากพระ ลากซุง ตลอดจนตีโพน
จุดหนึ่ง ส่วนคณะกรรมการตัดสินอยู่ไกลออกไปเพื่อฟังเสียง ภาพ ๒ โพนจิ๋ว
ใช้งานได้จริงเพื่อการเรียนรู้ส�าหรับเด็ก ๆ และเป็นของที่ระลึกได้ แข่งขันเสียงดังของโพน
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 47