Page 53 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 53
แขงโพน แขงตะโพน หรือชันโพน
ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของภาคใต้ ตามประวัตินั้นเชื่อ
กันว่าเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับประเพณีชักพระ เพราะเป็นการปฏิบัติที่
เกี่ยวร้อยต่อเนื่องกัน
ก่อนที่จะมีการชักพระในวันแรม ๑ ค�่า เดือน ๑๑ ซึ่งคือ
วันออกพรรษา ในช่วงปลายเดือน ๑๐ ตามวัดต่าง ๆ จะเตรียมการ
ชักพระเริ่มตั้งแต่การท�าบุษบกหุ้มโพน และเริ่มคุมโพนก่อนประกาศ
ให้ชาวบ้านรู้ว่าทางวัดจะจัดให้มีการชักพระหรือลากพระตาม
ประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาเหมือนทุกปี แต่เนื่องจากวัดส่วนมาก
อยู่ในละแวกเดียวกัน เสียงโพนที่ดังออกไปไกล บางครั้งชาวบ้านก็
ไม่รู้ว่าเป็นเสียงของวัดใด จึงท�าให้วัดต่าง ๆ แข่งเสียงโพนกันว่าโพน
ของวัดใดเสียงดังกว่ากัน
ในระยะแรกก็ตีแข่งกันในวัด กลางทุ่งกลางนา หรือสถานที่
เตรียมไว้ ในวันชักพระก็จะมีโพนประจ�าเรือพระไว้คอยตีให้สัญญาณ
เพราะเสียงดังไปไกลได้ยินทั่วถึง เพื่อคุมการลากเรือพระว่าต้องการ
ลากช้าหรือเร็ว เพราะเรือพระใช้เชือกลากเส้นใหญ่ ๆ มีขนาดยาว
ไม่น้อยกว่า ๓๐ เมตร เสียงโห่ร้องของคนที่มาลากพระ ท�าให้ไม่
สามารถวิ่งสั่งงานด้วยปากเปล่าได้ทั่วถึงกัน เช่น ถ้าให้ลากเร็ว
๒ ก็ตีรัวให้ถี่ ถ้าจะให้ช้าก็ตีจังหวะช้า ในบางครั้งเมื่อชาวบ้านจาก
หลายวัดลากพระมารวมกัน ก็มักจะมีการแข่งโพนกันต่อ จาก
ภาพ ๑ การเหลาไม้ตีก็ยังต้องท�าอย่างประณีต ภาพ ๒ โพนที่ใช้แข่งขันของ
ชาวพัทลุง ภาพ ๓ บรรยากาศค่ายโพนป่ายางหูเย็น ภาพ ๔ หมุดไม้ที่เหลา เหตุการณ์นี้จึงท�าให้เกิดการแข่งโพนขึ้นซึ่งพบมากในหมู่บ้านชนบท
เตรียมไว้ส�าหรับยึดแผ่นหนังเข้ากับตัวโพน ของภาคใต้
๓ ๔
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 51