Page 89 - Culture3-2017
P. 89
จากกองทัพสู่ครูช่าง
ย้อนหลังไปในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ สมเด็จพระนางเจ้า-
สิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทร-
มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ตามเสด็จในหลวง
รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชด�าเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎร
ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนั้นมีผู้น�าเครื่องใช้ที่ท�าจาก
ย่านลิเภาทูลเกล้าฯ ถวาย พระองค์ทรงรับไว้ด้วยสนพระราช-
หฤทัย ตรัสถามถึงที่มาของย่านลิเภาจนทรงทราบว่าเป็นงาน กระเป๋าย่านลิเภา เมื่อสานเสร็จแล้วจะถูกส่งต่อไปยังแผนกเครื่องถมเพื่อท�าหูหิ้ว
หัตถศิลป์เก่าแก่ของชาวนครศรีธรรมราช จึงมีพระราชด�าริ และตกแต่งด้วยการถมทองหรือถมเงิน
ให้อนุรักษ์และสืบทอดงานหัตถศิลป์นั้นไว้
ครั้นถึงพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทั้งสองพระองค์เสด็จฯ แปร
พระราชฐานไปประทับ ณ พระต�าหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัด
นราธิวาส และเสด็จพระราชด�าเนินไปทรงเยี่ยมเยียนราษฎรใน
จังหวัดนครศรีธรรมราชอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ
พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้พลโท สัณห์ จิตรปฏิมา
แม่ทัพภาคที่ ๔ ในขณะนั้น จัดหาครูช่างย่านลิเภามาสอนให้กับ
ครอบครัวทหาร นับเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางสายย่านลิเภาของ
ร้อยเอกเผือน คงเอียง นายทหารปืนใหญ่แห่งกองทัพภาคที่ ๔
“เมื่อมีครูมาสอน แม่บ้านผมก็มาเรียน ส่วนผมอยู่ชุดบันทึก
กิจกรรมทหารในสนามก็มาท�าข่าวเผยแพร่ ผมเห็นแล้วก็เกิด
ความสนใจจึงขอเรียนด้วย ปรากฏว่าคนอื่นท�าไม่ได้ แม่บ้านผม
ก็ท�าไม่ค่อยเป็น มีผมคนเดียวที่ท�าส�าเร็จ ตอนนั้นผมท�ากระเป๋า
ลายมัดหมี่ ครูมาสอน ๓ เดือนแล้วก็ไป เมื่อผมท�าได้เขาก็เลยให้
ผมสอนต่อ ต่อมาแม่ทัพภาคที่ ๔ ได้สั่งให้ท�าผลิตภัณฑ์ย่านลิเภา
ทูลเกล้าฯ ถวายหนึ่งชิ้น ผมก็ท�ากระเป๋า เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐาน
ไปที่ทักษิณราชนิเวศน์ แม่ทัพภาคที่ ๔ ก็น�ากระเป๋าไปถวาย
ทรงโปรดและทรงใช้ทันทีเมื่อพระองค์เสด็จฯ ต่อไปที่จังหวัดตรัง
ผมเห็นในภาพข่าวก็ดีใจมาก นับจากนั้นผมก็ท�าถวายทุกปี
มีอยู่คราวหนึ่งพระองค์ทรงมีพระราชเสาวนีย์ผ่านทางราช-
เลขาฯ ให้ผมท�ากระเป๋ารูปทรงฟักทอง ด้วยความไม่เข้าใจว่า
ฟักทองหมายถึงอะไร ก็เดาเอาว่าทรงให้ท�ารูปน�้าเต้า
ผมไม่รู้จักฟักทองเพราะภาษาใต้เรียกว่าน�้าเต้าเทศ เมื่อ
ครูเผือน คงเอียง กับพานย่านลิเภาที่บรรจงสานโดยใช้เวลาถึง ๒ ปี เพื่อน้อมเกล้าฯ
ถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๐ 87