Page 40 - Culture3-2017
P. 40

อธิบายว่า เป็นคติธรรมเนียมมาแต่โบราณ ที่นิยมจ�าลองแบบพระพุทธรูป
          องค์ส�าคัญเพื่อจ�าลองเอาความศักดิ์สิทธิ์มาไว้ในชุมชนของตน
               อย่างไรก็ตามการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ในต�านานของ
          ชาวล้านนานั้น เกิดขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าแสนเมืองมา ช่วงต้นพุทธ-
          ศตวรรษที่ ๒๐ โดยท้าวมหาพรหม เจ้าเมืองเชียงราย เป็นผู้อัญเชิญมา
          จากเมืองก�าแพงเพชร บางต�านานกล่าวว่า ท้าวมหาพรหมยกทัพไปตี
          เมืองก�าแพงเพชร และได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์และพระแก้วมรกต
          มายังล้านนา โดยได้ถวายพระพุทธสิหิงค์แด่พระเจ้าแสนเมืองมา
          เพื่อประดิษฐานในเมืองเชียงใหม่ แล้วน�าพระแก้วมรกตไปยัง
          เมืองเชียงราย ภายหลังท้าวมหาพรหมได้ทูลขอพระพุทธสิหิงค์จาก
          เมืองเชียงใหม่เพื่อน�าไปจ�าลองแบบที่เกาะดอนแท่น เมืองเชียงแสน

          เมื่อท้าวมหาพรหมสิ้นชีพ พระเจ้าแสนเมืองมาจึงได้ไปอัญเชิญ
          พระพุทธสิหิงค์กลับมายังเมืองเชียงใหม่ โดยประดิษฐานที่วัดลีเชียงพระ
          ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระสิงห์ตามนามของพระพุทธสิหิงค์
               แต่บางต�านานก็ว่าหลังจากท้าวมหาพรหมแย่งชิงพระราช-
          สมบัติจากพระเจ้าแสนเมืองมาไม่ส�าเร็จ ก็หนีไปประทับอยู่ที่เมือง
          ก�าแพงเพชร ภายหลังเมื่อสนิทสนมกับเชื้อพระวงศ์ ได้ทูลขอพระพุทธรูป
          ส�าคัญ ๒ องค์ คือ พระแก้วมรกตและพระพุทธสิหิงค์ ต่อมาจึงอัญเชิญ
          ไปยังล้านนา โดยถวายพระพุทธสิหิงค์แด่พระเจ้าแสนเมืองมาเพื่อ                                         ๑
          ขออภัยโทษ ซึ่งท้าวมหาพรหมก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษให้กลับ
          ขึ้นไปเป็นเจ้าเมืองเชียงรายตามเดิม พร้อมกับอัญเชิญพระแก้วมรกต
          ขึ้นไปยังเมืองเชียงรายด้วย
               ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ ภาควิชาประวัติศาสตร์
          ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร สรุปใจความส�าคัญ
          จากต�านานได้ว่า ผู้ที่มีบทบาทส�าคัญเกี่ยวข้องกับการอัญเชิญ

          พระพุทธสิหิงค์มายังล้านนาคือท้าวมหาพรหม และพระพุทธสิหิงค์
          ได้มาประดิษฐานที่วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่ ในรัชสมัยพระเจ้า
          แสนเมืองมา ช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐
               อย่างไรก็ตามหากเป็นจริงดังต�านานที่กล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์
          สร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๗๐๐ ย่อมหมายความว่า พระพุทธสิหิงค์มีอายุ
          เก่าแก่ถึง ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ทว่า สุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ประจ�า
          ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า
          หลังจากนักวิชาการศึกษารูปแบบพุทธศิลป์กลับพบว่า พระพุทธสิหิงค์
          ไม่ได้มีอายุเก่าแก่ตามที่ต�านานระบุไว้ เพราะเป็นพุทธศิลป์ล้านนา
          ที่น่าจะสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ส่วนเหตุที่ต�านานระบุว่า
          สร้างขึ้นในลังกาและมีอายุเก่าแก่เกินความจริงไปนั้น ก็น่าจะเพื่อ
          สร้างความศักดิ์สิทธิ์ให้กับพระพุทธสิหิงค์นั่นเอง
                                                                                                             ๒

          38
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45