Page 39 - Culture3-2017
P. 39
๒
ภาพ ๑ วิหารลายค�า (ด้านซ้ายของภาพ) ในวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ สถาน
ที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์
ภาพ ๒ พระพุทธสิหิงค์ ศูนย์รวมแห่งจิตศรัทธาของชาวเชียงใหม่
พระพุทธสิหิงค์ปรากฏอยู่ในต�านานของชาวล้านนาหลาย
ฉบับ ที่ส�าคัญได้แก่ ชินกาลมาลีปกรณ์ แต่งโดยพระรัตนปัญญาเถระ
และต�านานพระพุทธสิหิงค์ แต่งโดยพระโพธิรังสีแห่งส�านักป่าแดงหลวง
ทั้งนี้ อาจารย์พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์
และโบราณคดี กรมศิลปากร เชื่อว่า พระโพธิรังสีแต่งต�านานเรื่องนี้
น่าจะเกี่ยวข้องกับปมขัดแย้งระหว่างสงฆ์ ๒ ฝ่าย คือ ส�านักป่าแดงหลวง
ที่สืบศาสนาจากลังกาโดยตรง กับส�านักสวนดอกจากสุโขทัย
โดยทั้ง ๒ ฝ่ายต่างก็อ้างว่าส�านักของตนสืบวงศ์มาจากลังกาและ
มีความบริสุทธิ์กว่าอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในเวลานั้นส�านักป่าแดงหลวง
ก�าลังตกต�่าเพราะไม่ได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์เหมือนส�านัก
สวนดอก พระโพธิรังสีจึงน�าพระพุทธสิหิงค์มาเป็นสัญลักษณ์เพื่อ
ยืนยันว่าส�านักของท่านนั้นเป็นของจริงแท้และบริสุทธิ์ หากไม่ได้
รับการยอมรับ พระพุทธศาสนาจากลังกาแท้อย่างส�านักของท่าน
ก็จะหมดไป โดยสื่อนัยเป็นค�าพยากรณ์ตอนท้ายต�านานว่า ท้ายที่สุด
พระพุทธสิหิงค์จะถูกอัญเชิญกลับไปลังกา สื่อถึงการสิ้นสุดพระพุทธ-
ศาสนาอันบริสุทธิ์ในเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อส�านักป่าแดงหลวงได้รับการยอมรับมากขึ้น
จึงก่อให้เกิดกระแสการจ�าลองพระพุทธสิหิงค์หรือพระสิงห์ขึ้น
อย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังแพร่หลายไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย
ปรากฏการณ์เช่นนี้ รศ.พิริยะ ไกรฤกษ์ ศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชา
ประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๐ 37