Page 10 - Culture3-2017
P. 10

จักเป็นเส้นแล้วสานเป็นงานศิลป์



               งานจักสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่อยู่ในวิถีชีวิตของชาวไทย
          ในทั่วทุกภูมิภาค เพื่อเป็นเครื่องใช้ไม้สอย และเครื่องตกแต่งบ้านเรือน
          โดยใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น อาทิ ไม้ไผ่ หวาย ย่านลิเภา กก
          กระจูด ใบตาล ใบลาน ใบมะพร้าว ก้านมะพร้าว และผักตบชวา                                   แจกันย่านลิเภา
          เป็นต้น มีรูปแบบและลวดลายเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันตามแต่วัสดุ                            ตกแต่งด้วยเงิน
          และรสนิยมในความงามของผู้คนแต่ละท้องที่
               สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงห่วงใยว่างาน
          หัตถศิลป์อันเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านเหล่านี้จะเสื่อมสูญ จึงทรงมี
          พระราชด�าริให้ส่งเสริมงานจักสาน รักษารูปแบบและลวดลายดั้งเดิม

          อันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นไว้ ด้วยการจัดหาครูช่างฝีมือ
          มาสอนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีรูปแบบและคุณภาพที่ดีขึ้น
               โครงการจักสานป่านศรนารายณ์ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ นับเป็น
          ก้าวแรกของการส่งเสริมงานจักสานอย่างจริงจัง พระองค์ทรงมี
          พระราชด�าริให้น�าป่านศรนารายณ์ซึ่งเป็นวัชพืชที่ไม่เกิดประโยชน์
          ในท้องที่หุบกะพง จังหวัดเพชรบุรี มาประดิษฐ์เป็นสินค้าหัตถกรรม                          กระเป๋าไม้ไผ่สานลายขิด
                                                                                                 ประดับด้วยทองค�า
          ต่าง ๆ เช่น กระเป๋าถือ หมวก พัด รองเท้าแตะ และของใช้อื่น ๆ                             เพชรและพลอย
          เพื่อให้กลุ่มแม่บ้านมีรายได้เพิ่มเติม
               ย่านลิเภา กล่องย่านลิเภาของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรม-
          ราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งมีอายุกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว แต่ยัง  ประณีตของฝีมือช่าง จึงมีพระราชด�าริให้อนุรักษ์ฟื้นฟูงานจักสาน
          มีสภาพสมบูรณ์ ท�าให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรง  ย่านลิเภา อันเป็นงานหัตถศิลป์ของชาวนครศรีธรรมราชมาแต่อดีต
          สนพระราชหฤทัยในความคงทนของย่านลิเภาและความละเอียด ที่ก�าลังจะสูญหายไปตามกาลเวลาให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง
                                                                    เมื่อพระองค์โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล-
                                                              อดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ

                                                              พระต�าหนักทักษิณราชนิเวศน์ จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗
                                                              ทอดพระเนตรเห็นต้นย่านลิเภาขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าจังหวัดนราธิวาส
                                                              จึงมีพระราชด�าริให้ตั้งกลุ่มจักสานย่านลิเภาที่จังหวัดนี้เป็นแห่งแรก
                                                              และทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้จัดหาครูจากนครศรีธรรมราชมาเป็น
                                                              ผู้สอน ทรงส่งเสริมและฟื้นฟูงานจักสานย่านลิเภาให้มีความประณีต
                                                              และพัฒนาให้มีรูปแบบที่งดงามยิ่งขึ้น และยังทรงส่งเสริมให้ราษฎร
                                                              ปลูกย่านลิเภาคืนให้แก่ธรรมชาติ เพื่อให้ท้องถิ่นมีทรัพยากรเป็น
                                                              วัตถุดิบไว้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
                                                                    จักสานเส้นไม้ไผ่ลายขิด ลวดลายซับซ้อนต่าง ๆ ของลายขิด
                                                              จักสานด้วยเส้นไม้ไผ่ที่เล็กละเอียด นับเป็นงานช่างฝีมือชั้นสูง
                                                              ซึ่งแสดงถึงภูมิปัญญาพื้นบ้านของท้องถิ่นภาคอีสานที่ใกล้จะสูญหายไป
                                                              เนื่องจากเหลือผู้ที่มีฝีมือในการจักสานเพียงครอบครัวเดียวที่อ�าเภอ



          8
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15