Page 61 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 61
เหมืองฝาย
สุดยอดภูมิสถาปัตยกรรม
จากภูมิปัญญาพื้นบ้านไทย
ขุนเขาสลับซับซ้อนอุดมไปด้วยป่าฝนและเมฆหมอกคือ
ลักษณะภูมิประเทศเกือบทั้งหมดของภาคเหนือ ความซับซ้อน
สูงชันที่ปกคลุมไปด้วยป่าไม้และท้องทุ่งสีเขียวช่วยเก็บกัก
ความชุ่มชื้นจากฝนและละอองน?้าในอากาศเป็นอย่างดีเยี่ยม
น?้าซึมซับสู่ใต้ดินเกิดเป็นต้นน?้าล?าธารมากมายจากที่สูงลงสู่ที่ต?่า
ซึ่งมีความชุ่มชื้นนอกฤดูฝนน้อยกว่า สายน?้าเล็ก ๆ หลายสาย
รวมกันเป็นสายน?้าใหญ่ไหลสู่ที่ราบลุ่มต?่ากลายเป็นแม่น?้า
เป็นคลอง
มนุษย์มีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพาอาศัย “น?้า” เป็นปัจจัยหลัก
ในการท?านาท?าไร่มาแต่โบราณ เป็นทรัพยากรธรรมชาติล?้าค่า
ที่มีจ?ากัดตามฤดูกาลโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มต?่าที่ห่างไกลจาก
แม่น?้าล?าคลอง สังคมเกษตรกรรมจึงต้องมีการจัดการอย่างเป็น
ระบบ ซึ่งบรรพบุรุษของไทยก็สร้างระบบขึ้นด้วยภูมิปัญญาที่
ถ่ายทอดสู่รุ่นลูกรุ่นหลานกันมาช้านาน ขณะที่ทุกวันนี้เรามี
ค?าเรียกระบบการจัดการน?้าอย่างเป็นทางการว่า “ชลประทาน”
ทว่าเมื่อครั้งโบราณเรียกระบบจัดการน?้าเพื่อการเกษตรกรรมว่า
“เหมือง-ฝาย”
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๐ 59