Page 64 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 64
จากที่นาเรียกว่า “เหมืองขี้น?้า” และยังมีล?าน?้า
ที่ต่างระดับเพื่อการชักน?้าเข้าสู่นาที่สูงกว่าเรียกว่า
“เหมืองฟู”
ฝาย สร้างขึ้นเพื่อกักน?้าในแม่น?้าหรือล?าน?้า
สายหลักตามธรรมชาติ เพื่อยกระดับน?้า ชะลอ เก็บกักน?้า
และจ่ายแจกไปยังเหมืองที่ขุดรอไว้ด้านข้าง ด้วยการปักไม้
เป็นหลักเรียงกันและสานขัดกันขวางล?าน?้าทั้งสาย
เพื่อความแข็งแรง แนวไม้ปักจะท?าไว้หลาย ๆ ชั้นแบบ
ก?าแพงกั้นน?้า และถมหินลงในระหว่างชั้นของก?าแพง
กันน?้า (ปัจจุบันอาจใช้ถุงทรายถม) ให้สูงขึ้นเท่ากับ
ระดับน?้าที่ต้องการ ตามภูมิปัญญาโบราณนั้นให้น?าหิน
ใส่ในตะกร้าจักสานด้วยไม้ไผ่เรียกว่า “ลูกจะเข้” น?าไป
เรียงหนีบทับตามแนวโคนไม้หลักก?าแพงกันน?้าก่อน
การถมหินลงไปจะได้ความแข็งแรงยิ่งขึ้น
น?้าที่ล้นฝายจะกลายเป็นน?้าตกขนาดย่อม ๆ
ในล?าน?้าเดิม และระดับน?้าที่สูงขึ้นบริเวณแอ่งเหนือ
ฝายก็จะไหลสู่เหมืองหลวงด้านข้างที่ขุดรอเอาไว้
น?้าที่ไหลไปในเหมืองหลวงนี้ยังสร้างฝายขนาดเล็ก
ขวางกั้นอีกที่เรียกว่า “แต” เพื่อแยกน?้าเข้าสู่ล?าเหมือง
ไส้ไก่ที่มีชื่อเรียกตามผืนนาผืนไร่ที่ได้รับประโยชน์
เช่น แตตาหนู, เหมืองตาหนู ซึ่งก็คือแตและล?าเหมือง
ที่ผันน?้าผ่านที่ดินของตาหนู จากเหมืองไส้ไก่ยังมี
การแจกจ่ายน?้าเข้าสู่ไร่นาโดยท?านบไม้ขนาดเล็ก
เรียกว่า “เขียง” สุดท้ายเป็นประตูน?้าสู่นาด้วยการเปิด
ดินคันนาด้วยมือและปิดกลับเมื่อมีน?้าเพียงพอแล้ว
เรียกว่า “ตาง” นอกจากนี้ยังมีการสร้างแนวคันดิน
ยาวต่อเนื่องเพื่อป้องกันน?้าไหลเข้าท่วมบริเวณอยู่
อาศัยและชุมชนอย่างนี้เรียก “พนัง”
นอกจากการสร้างเหมืองฝายจะมีแนวคิด
ในการใช้ประโยชน์โดยตรงจากธรรมชาติแล้ว ยังมี
ความเชื่อเรื่องความเร้นลับและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย
มีการสร้าง “หอผีฝาย” หรือศาลอันเป็นที่สถิตของ
ผีประจ?าฝายแต่ละแห่ง ด้วยความเชื่อความศรัทธา
จากอดีตกาล ถึงกับมีข้อกฎหมายระบุไว้ในมังราย-
ศาสตร์เช่นกันว่า “ผู้ใดสะหาวตีหอบูชาผีฝาย
ท่านเสีย ต้องถือว่าผิดผีฝาย หื้อมันแปลงหอบูชา
ดั่งเก่า”
๑
62