Page 56 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 56
เมื่อถึงตอนเช้าตรู่ของวันทานสลากย้อม คนจะช่วยกันประดับ
ต้นสลาก ปักไม้เฮียวและแขวนของถวายทาน จากนั้นตั้งขบวนแห่
เคลื่อนย้ายต้นสลากย้อมไปวัดที่จัดงานสลากภัต
การถวายทานสลากย้อมเป็นเช่นเดียวกับทานสลากภัตทั่วไป
นั่นคือเมื่อมีการเปิดอ่านเส้นสลาก พระเณรก็จะเดินเรียกขานหาชื่อ
เจ้าของเพื่อให้ศีลให้พร ส?าหรับสลากย้อมเมื่อตกแก่พระภิกษุสามเณร
รูปใด ก็ต้องว่าจ้างผู้ที่มีความสามารถมาอ่านกะโลงของเจ้าภาพให้จบ
เสียก่อน ค่อยรับประเคนแล้วให้ศีลให้พรเป็นอันเสร็จพิธี
การถวายทานสลากย้อมเคยแพร่หลายในชุมชนชาวยอง ๑
ล?าพูนเมื่อกว่า ๕๐ ปีก่อน ทว่าเมื่อกาลเวลาผันผ่าน ก็ส่งผลให้
วิถีชีวิตและการท?ามาหากินเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคม
อุตสาหกรรม ผู้หญิงได้เรียนสูงขึ้น บ้างก็แต่งงานตั้งแต่อายุน้อย
ความเจริญและความเปลี่ยนแปลงทางสังคมส่งผลให้ขนบธรรมเนียม
ประเพณีดั้งเดิมเริ่มลดบทบาทลงไป รวมทั้งทานสลากย้อมที่เป็น
การท?าบุญใหญ่ ใช้เวลาเตรียมงานนาน ต้องอาศัยเงินทองและ
คนช่วยงานจ?านวนมาก ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปจากล?าพูน
กระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา จังหวัดล?าพูนได้เริ่มฟื้นฟู
การจัดประเพณีสลากย้อมขึ้นมาใหม่ โดยเป็นส่วนหนึ่งของงาน
ประเพณีสลากภัตซึ่งเป็นการท?าบุญประจ?าปี จัดขึ้นที่วัดพระธาตุ
หริภุญชัยฯ เป็นล?าดับแรก ในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค?่า เดือน ๑๒ ก่อนจะ
เวียนไปจัดตามวัดอื่น ๆ ตามความพร้อมของแต่ละแห่ง
การจัดงานสลากย้อมยุคฟื้นฟูขึ้นใหม่มีรูปแบบต่างจากใน
อดีตบางประการ เจ้าภาพหรือเจ้าของต้นสลากมิได้เป็นหญิงสาว
ในวัยพร้อมออกเรือน หากเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนในนามคณะ ๒ ๓
ศรัทธาของวัด หรือชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ ช่วยกันจัดท?าต้นสลากย้อม
แล้วเคลื่อนย้ายมาตั้งประชันรวมกันที่วัดพระธาตุหริภุญชัยฯ
นอกจากเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแล้วยังมีการจัดประกวดแข่งขัน
ส่งผลให้แต่ละกลุ่มมุ่งสร้างต้นสลากย้อมของตนให้สวยงามอลังการ สลากภัต คือ วิธีถวายทานแด่พระสงฆ์โดยการจับสลาก
และสูงใหญ่ยิ่งขึ้น จนกลายเป็นสีสันบรรยากาศน่าตื่นตาตื่นใจที่ดึงดูด เพื่อแจกภัตตาหารหรือปัจจัยวัตถุที่ได้รับจากผู้ศรัทธา
นักท่องเที่ยวจ?านวนมากมาสู่จังหวัดล?าพูน ประเพณีทานสลาก คือ การท?าบุญสลากภัตของทาง
เมื่อใกล้ถึงวันงานประเพณีสลากภัตและสลากย้อมประจ?าปี ล้านนา
ของจังหวัดล?าพูน ชาวบ้านแต่ละชุมชนหรือคณะศรัทธาแต่ละคุ้มวัด เส้นสลาก หมายถึง ใบลานหรือกระดาษตัดมาเป็นแผ่น
เช่น ชาวหมู่บ้านศรีบังวัน หรือคณะศรัทธาวัดประตูป่า วัดล่ามช้าง ฯลฯ โดยเขียนชื่อเจ้าของผู้ถวายทานไว้ ส?าหรับให้พระสงฆ์
ต่างทยอยเคลื่อนย้ายต้นสลากย้อมของตนไปยังวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ จับสลาก
ในเวลาไล่เลี่ยกัน
๑-๒ สลากย้อมถือเป็นบุญใหญ่ของหญิงชาวไทยองที่ต้องลงฝีไม้ลายมือประดิดประดอย ๓ พริกแห้งเป็นหนึ่งในร้อยข้าวของจิปาถะที่น?ามาประดับต้นสลากย้อม
๔ การตั้งล?าต้นสลากหรือ “เสากระโดง” ซึ่งสูงใหญ่ จึงจ?าเป็นต้องใช้นั่งร้านระหว่างการประกอบ
54