Page 28 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 28
ชั้นเชิงช่าง
ฐากูร โกมารกุล ณ นคร เรื่อง
สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์ ภาพ
ก่องข้าวดอก
จักตอกเส้นสายสู่งานศิลป์
เส้นตอกผิวไม้ไผ่วางเรียงรายอยู่เบื้องหน้าพ่ออุ๊ยแม่อุ๊ย
ในชนบทล้านนา พวกเขาค่อยหยิบจับเส้นที่ได้ขนาด ผ่านการ
คัดสรรมาด้วยภูมิปัญญาโบราณที่ตกทอดมารุ่นสู่รุ่น สองมือค่อย ๆ
จักสานไปตามแบบแผนของลวดลายดั้งเดิม
จนเมื่อตอกไผ่หลายเส้นค่อยถูกสานขึ้นเป็นรูปทรง ปรากฏ
เป็น “ก่องข้าวดอก” ภาชนะที่คนพื้นถิ่นภาคเหนือเคยคุ้นยาม
ไว้ใส่ข้าวเหนียวทั้งในครัวเรือนและส่งขายออกไปนอกชุมชน
หลายอย่างถูกสืบสานอยู่ในงานหัตถศิลป์อันเรียบง่าย ทว่าแสน
สวยงาม มีเสน่ห์ยามหยิบจับใช้สอย
ระหว่างกลิ่นกรุ่นหอมของข้าวพันธุ์ดีที่นึ่ง
จนได้ที่ค่อยบรรจุลงในก่องข้าวดอก ความ
ร้อนและความนุ่มหอมถูกกักเก็บไว้
ภายใน ไม่เพียงภาชนะในครัวเรือน
ชนิดหนึ่งจะได้ท?าหน้าที่ของมัน
หากยังเต็มไปด้วยเรื่องราว
ของงานหัตถศิลป์พื้นบ้านล้านนา
ที่สั่งสมและสืบสานผ่านลวดลาย
และรูปทรงอยู่ ณ ท้องถิ่นเล็ก ๆ เส้นสายลายจักสานของก่องข้าวดอก
อย่างน่าชื่นชม ที่ชาวบ้านไผ่ปง ต?าบลเมืองมาย
อ?าเภอแจ้ห่ม จังหวัดล?าปาง
ยังคงสืบสานเป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน
อันมีเอกลักษณ์ของชุมชน
26