Page 24 - Culture1-2018
P. 24

ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ขุนจารุวิเศษศึกษากร

                                                               ศึกษาธิการจังหวัดปัตตานีในขณะนั้น ท่านมีแนวคิดในการ
                                                               สืบสานด้วยเกรงว่า รองเง็ง อาจสูญหายไปจากเมืองปัตตานี จึง
                                                               รื้อฟื้นการแสดงรองเง็งแบบดั้งเดิมขึ้นอีกครั้ง พร้อมยังมีการ
                                                               ปรับปรุงท่าเต้นรองเง็งขึ้นใหม่โดยมีเค้าโครงจากของเดิม พร้อม
                                                               ทั้งน�าท่านาฏศิลป์ไทยมาประยุกต์ แต่ไม่ปรากฏมีการร้องปันตุน

                                                               โต้ตอบกัน เพราะขาดช่วงในการสืบสาน และผู้ที่มีปฏิภาณ
                                                               ไหวพริบในการร้องและด้นกลอนสดนั้นหาได้ยาก
                                                                   โดยก�าหนดให้เป็นท่าเต้นมาตรฐาน ประมาณ ๑๐ เพลง
                                                               ได้แก่ เพลงลาฆูดูวอ เลนัง ปูโจ๊ะปีซัง มะอีนังลามา มะอีนังชวา
                                                               อาเนาะดิดิ๊ จินตาซายัง โดนนังซายัง มาสแมเราะห์ และ
                                                               บุหงาร�าไป เพื่อใช้เป็นแบบแผนในการถ่ายทอดที่ฝึกหัดได้ง่าย

                                                               และสามารถน�าไปถ่ายทอดแก่บุคคลอื่นที่สนใจได้ บทบาท
                                                               ของท่านขุนจารุวิเศษศึกษากร นอกเหนือจากการรื้อฟื้น
                                                               การแสดงรองเง็ง ท่านยังได้เขียนข้อสันนิษฐาน และความหมาย
                                                               ของค�าว่า “รองเง็ง” ไว้ด้วยว่า
                                                                   “ค�าว่ารองเง็งไม่ใช่ค�าในภาษามลายู และไม่ทราบว่าเป็น

                                                               ภาษาใด แต่สันนิษฐานว่าคงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีใช้
                                                               บรรเลงนั่นเอง ซึ่งแต่ก่อนมีกลองร�ามะนากับฆ้อง ซึ่งท�าด้วย
                                                               แผ่นเหล็กหนาๆ เสียงกลองร�ามะนาดัง ก็อง ก็อง และเสียงตี
                                                               ฆ้องเหล็ก ดัง แง็ง แง็ง ก็เลยเรียกการละเล่นนี้ตามเสียงของ
                                                               เครื่องดนตรีที่ได้ยิน คือ ก็องแง็ง แต่ค�าว่า ก็อง ในภาษามลายู
                                                               แปลว่า บ้าๆ บอๆ ซึ่งมีความหมายไม่ค่อยเป็นมงคลนัก จึง

                                                               แกล้งออกเสียงให้เพี้ยนไปเป็นรอง และลิ้นชาวมลายูไม่สันทัด
                                                               ในการออกเสียงแอ จึงออกเสียงแง็ง เป็น เง็ง ก็เลยกลายเป็น
                                                               รองเง็ง” (สุภา วัชรสุขุม. ๒๕๓๐ : ๑๓)
                                                                   ในเวลาต่อมา รองเง็ง จึงกลับมาเป็นที่นิยมกันในหมู่

                                                               ข้าราชการ พ่อค้า และคหบดี ทั้งกลุ่มชาวไทยพุทธ ชาวไทย
                                                               เชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิมในเมืองปัตตานี และในยุคนี้
                                                               มีการน�าแอคคอร์เดียน หรือหีบเพลงชัก มาร่วมบรรเลงในวง
                                                               ดนตรีรองเง็งเพิ่มความไพเราะ และสร้างความสนุกสนานให้กับ
                                                               นักแสดงมากยิ่งขึ้น
                                                                   จึงถือได้ว่า การแสดงรองเง็งไม่ได้จ�ากัดอยู่แต่เฉพาะในกลุ่ม

                                                               ชาวไทยมุสลิมอีกต่อไป หากยังปรากฏในกลุ่มชาวไทยพุทธ และ
                                                               กลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และต่างมีบทบาท
                                                               ร่วมในการสืบสาน และอนุรักษ์การแสดงรองเง็งนี้ด้วย

     22
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29