Page 21 - Culture1-2018
P. 21

รองเง็ง็ง
                                      รองเง






                                             มรดกวัฒนธรรม ไทย–มลายู
                                             มรดกวัฒนธรรม ไทย–มลายู






                                                                               รองเง็ง ศิลปะการแสดงพื้นบ้านในกลุ่ม
                                                                           ชาติพันธุ์มลายู ที่สื่อถึงการเกี้ยวพาราสีกันระหว่าง

                                                                           หนุ่มสาว นิยมแพร่หลายในพื้นที่ภาคใต้ของ
                                                                           ประเทศไทย ตลอดจนในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์
                                                                           และอินโดนีเซีย ถือเป็นวัฒนธรรมร่วมทางด้านการ
                                                                           แสดงพื้นบ้านในภาคพื้นคาบสมุทรมลายูที่นิยม
                                                                           แพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน โดยแต่ละพื้นที่มี

                                                                           รูปแบบการแสดงที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับ
                                                                           บริบท ค่านิยม และสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้นๆ
                                                                           ในอดีตรองเง็งเป็นสื่อพื้นบ้าน เพื่อให้กลุ่มคน
                                                                           หลากหลายเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม
                                                                           ได้ร่วมปฏิสัมพันธ์ จึงสะท้อนสู่รูปแบบการแสดง
                                                                           ที่มีกลิ่นอายของความหลากหลายทางชาติพันธุ์

                                                                           เช่น เครื่องดนตรี ท่วงท�านองเพลง การแต่งกาย
                                                                           ท่วงท่าการแสดง และวรรณกรรม ซึ่งในอดีต
                                                                           การละเล่นรองเง็งมีองค์ประกอบ ๓ ส่วน
                                                                           คือ นักดนตรี นักแสดง และผู้ขับกลอน หรือ
                                                                           บทปันตุน (Puntun) ซึ่งเป็นบทกวีมลายูโบราณ

                                                                           ที่บอกเล่าถึงวิถีชีวิต ธรรมชาติ และความรัก
                                                                           เป็นบทกลอนที่หนุ่มสาวใช้ร้องโต้ตอบกัน พร้อม
                                                                           การบรรเลงดนตรี และการเต้นรองเง็ง ซึ่งผู้ชม
                                                                           สามารถที่จะเข้ามาร่วมร้อง ร่วมเต้นหรือร่วม
                                                                           ร่ายร�าด้วยได้
                                                                               ดังปรากฎหลักฐานในบทพระราชนิพนธ์

                                                                           ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ
                                                                           รัตนโกสินทรศก ๑๑๕ เรื่อง “ระยะทางเที่ยวชวา
                                                                           กว่าสองเดือน” เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ขณะ
                                                                           พระองค์เสด็จต�าบลจิสรูปัง เมืองการุต โดยมี

                                                                           เนื้อความว่า


                                                                                                มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑  19
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26