Page 23 - Culture1-2018
P. 23
๓. รองเง็งตันหยง นิยมแสดงกันในกลุ่มชาวไทยมุสลิมใน
พื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต
กระบี่ ตรัง และสตูล เป็นการแสดงที่คลี่คลายมาจากรองเง็ง
ชาวเล แต่มีการปรับเปลี่ยนเรื่องภาษาที่ใช้ในการขับร้อง จาก
ภาษามลายูเป็นภาษาถิ่นใต้
ซึ่งในพื้นที่เมืองปัตตานีสมัยการปกครองแบบมณฑล
เทศาภิบาล ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๙-๒๔๔๙ พระยาพิพิธเสนา
มาตยาธิบดี เจ้าเมืองยะหริ่ง ประสงค์ให้ข้าราชบริพารที่เป็น
หญิงสาวฝึกเต้นรองเง็ง เพื่อใช้ส�าหรับต้อนรับแขกบ้านแขกเมือง
หรือเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ จากนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ และสงครามมหาเอเชียบูรพา
พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ นับเป็นจุดที่ท�าให้เจ้าเมืองเสื่อมอ�านาจ
ส่งผลให้การแสดงรองเง็งเสื่อมความนิยมลง
เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในการแสดงรองเง็ง ในสมัยปัจจุบัน
การแต่งกายตามแบบรองเง็งราชส�านัก
มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑ 21