Page 27 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 27
พ่อครูยิ้มพลางเล่าต่อ พออายุได้ ๑๗ ปี พี่ชายก็พาไปฝากตัว
กับคณะซอไชยลังกาของพ่อครูไชยลังกา เครือเสน ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) พุทธศักราช ๒๕๓๐ เพื่อ
ฝึกฝนการเล่นปินให้เป็นเรื่องเป็นราว ด้วยเห็นว่าน้องชายคงเอาดี
ด้านนี้ได้อยู่ พ่อครูในวัยหนุ่มตระเวนไปกับคณะซอของพ่อครู
ไชยลังกาทุกถิ่นที่ ไม่ว่าต่างอ�าเภอหรือต่างจังหวัด ใช่เพียงเท่านั้น
ยังช่วยงานการทุกอย่าง ตั้งแต่งานในบ้านไปจนถึงงานในไร่นา
เรียกได้ว่าฝากชีวิตไว้กับคณะซอเลยก็ว่าได้
พ่อครูไชยลังกาเองก็ดูเหมือนจะพอใจลูกศิษย์คนนี้ เพราะ
หัวไวเข้าท่า ปินนั้นมีพื้นฐานมาก่อนหน้าแล้ว ฝึกเทคนิคอีกเพียง
นิดหน่อยก็ได้เรื่อง ครั้นถ่ายทอดบทซอให้ ทั้งบทเกี้ยวสาว บทบวชพระ
บทขึ้นบ้านใหม่ ไม่ทันไรก็จ�าได้หมด นอกจากนี้ยังแต่งค�ากลอนซอ
แต่งโน้ตเพลง ประดิษฐ์สะล้อกับปินได้อีก สั่งสมประสบการณ์นานวันเข้า
ก็ได้ท�าหน้าที่เป็นตัวรองของพ่อครูไชยลังกา ทั้งด้านการขับซอ
สีสะล้อ และดีดปิน
ครั้นสิ้นพ่อครูไชยลังกาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ พ่อครูอรุณศิลป์
ก็ได้สืบสานวงสะล้อ ซอ ปิน ต่อในนาม “คณะซออรุณศิลป์”
บางโอกาสยังได้รับงานร่วมกับพ่อครูค�าผาย นุปิง ศิลปินแห่งชาติ
สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ขับซอ) พุทธศักราช
๒๕๓๘ เนื่องจากวงของพ่อครูค�าผายไม่มีผู้หญิงที่จะขับซอ พ่อครู
ทั้งสองรับงานร่วมกันเป็นครั้งคราว จนกระทั่งพ่อครูค�าผายเสียชีวิต
ในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ คงเหลือเพียงพ่อครูอรุณศิลป์ที่สืบทอดภูมิปัญญา
จากศิลปินแห่งชาติทั้งสองมาจนถึงทุกวันนี้ และแม้ว่าเมืองน่านจะมี
วงสะล้อ ซอ ปิน หลัก ๆ อยู่ประมาณ ๑๒ วง ทว่าคณะซออรุณศิลป์นั้น
นับเป็นวงสะล้อ ซอ ปิน ที่เก่าแก่ที่สุดถึง ๒๕ ปี
อย่างไรก็ตามพ่อครูอรุณศิลป์กล่าวว่า การขับซออยู่คู่เมือง
น่านมานานแล้ว อีกทั้งยังโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า ซอล่องน่าน
โดยมีที่มาจากเมื่อครั้งพระยาการเมืองได้อพยพชาวเมืองวรนคร
(เมืองปัว) ล่องมาตามแม่น�้าน่านเพื่อไปยังชัยภูมิใหม่ ณ เชิงดอย
ภูเพียงแช่แห้ง พระองค์ได้สั่งให้จัดท�าแพขึ้น ๗ ล�า ส�าหรับบรรทุก
ราษฎร แพล�าที่ ๗ พิเศษตรงที่เป็นแพของเหล่าศิลปิน ระหว่างทาง
แพล�าที่ ๗ น�าโดยปู่ค�ามาและย่าค�าบี้ได้ขับซอบอกเล่าความรู้สึก
ของคนที่ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน รวมถึงพรรณนาทิวทัศน์สองฝั่ง ๔
ภาพ ๑ การดีดปินไม่ใช่เรื่องยากที่จะเริ่มต้น เพียงมุ่งมั่นตั้งใจร�่าเรียน ใน ๑ วันก็อาจเล่นได้ถึง ๒ เพลง ภาพ ๒ นอกจากการใช้คันชักสี อีกมือหนึ่งของผู้เล่นที่คอย
หมุนคันสะล้อไปมาและกดสายสะล้อตามต�าแหน่งเสียงที่ต้องการ ท�าให้การเล่นสะล้อมีเสน่ห์เฉพาะตัว เวลาผู้เล่นสีสะล้อ นอกจากจะดูสวยงามแล้ว ยังท�าให้ผู้ชม
เกิดความเพลิดเพลินไปด้วย ภาพ ๓ คณะซออรุณศิลป์นับเป็นวงสะล้อ ซอ ปิน ที่เก่าแก่ที่สุดของเมืองน่าน ภาพ ๔ สะล้อเมืองน่านแตกต่างจากละล้อในล้านนาทั่วไป
ตรงต�าแหน่งที่นิ้วมือซ้ายกดสายจะมีแผ่นไม้รองรับนิ้วและสาย คล้ายเป็นฐานเสียงหรือนม จ�านวน ๑๑ อัน
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 25