Page 25 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 25
ดนตรีพื้นบานเมืองนาน
บานซาวหลวง
ต�าบลบอสวก จังหวัดนาน
บ้านไม้ใต้ถุนสูงที่สร้างอยู่ริมทุ่งนาหลังนั้น ดูท่าทางเย็นสบาย
ยิ่งนัก ได้ยินเสียงทอผ้าดังเป็นจังหวะแว่วมาจากด้านในนั่นเอง
สมพร ดวงมูล วัย ๖๒ ปี ช่างซอแห่งคณะซออรุณศิลป์ที่โด่งดัง
ของเมืองน่าน ยามว่างเว้นจากการงาน แม่ครูสมพรจะนั่งลงทอผ้า
หนึ่งในภูมิปัญญาของผู้หญิงหมู่บ้านนี้ นอกจากจะส่งให้กลุ่มทอผ้า
เพื่อจ�าหน่ายแล้ว แม่ครูยังทอผ้าซิ่นงาม ๆ เก็บไว้หลายผืน ส�าหรับ
สวมใส่เวลาไปออกงานกับคณะซอ
ครู่เดียวอรุณศิลป์ ดวงมูล ลงบันไดบ้านมาสมทบ ในวัย
๖๗ ปี พ่อครูอรุณศิลป์ยังคล่องแคล่ว เส้นเสียงนั้นไม่ต้องพูดถึง
ยังคงขับซอเคียงข้างแม่ครูคู่ชีวิตได้ไพเราะกินใจ และหากรับงานใหญ่
พ่อครูก็จะเล่นปินด้วย ปินตัวเก่งนี้ พ่อครูท�าขึ้นเองกับมือ
ปินก็คือพิณที่ถูกเรียกด้วยภาษาเหนือ เป็นเครื่องดนตรี
ประเภทเครื่องดีดสายคู่ แบ่งออกเป็นสายคู่บนและสายคู่ล่าง
รวมทั้งสิ้น ๔ สาย ให้เสียงทุ้มเหมาะที่จะบรรเลงประกอบการขับซอ
เราอาจเคยได้ยินค�าว่า “สะล้อ ซอ ซึง” แต่ส�าหรับเมืองน่าน
วงดนตรีพื้นบ้านของที่นี่จะเรียกว่าวง “สะล้อ ซอ ปิน” ประกอบด้วย
เครื่องดนตรี คือ สะล้อและปิน ส่วนซอคือวิธีการขับร้องลักษณะ
หนึ่งตามขนบของล้านนา ทั้งนี้คนเมืองน่านนิยมจ้างวงสะล้อ ซอ ปิน
ไปแสดงในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ งานท�าบุญ
ครบรอบอายุ งานเกษียณอายุราชการ และงานอุปสมบท
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 23