Page 22 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 22
ชุมชนคลองแดน
ดินแดน “สามคลอง สองเมือง”
ใต้ลงไปจากนครศรีธรรมราช ติดทะเลในเขตรอยต่อจังหวัด
นครศรีธรรมราชกับจังหวัดสงขลา เป็นที่บรรจบพบกันของล�าคลอง
สามสาย นั่นก็คือ คลองระโนด คลองชะอวด และคลองปากพนัง
พร้อมกับแบ่งเขตจังหวัดทั้งสองไปในตัว นี่จึงเป็นที่มาของชื่อ
“คลองแดน” อันหมายถึง คลองแบ่งเขตแดนนั่นเอง และเป็น
ที่มาของสโลแกนในปัจจุบันของตลาดน�้าคลองแดนว่า ดินแดน
“สามคลอง สองเมือง”
คลองแดนเป็นชุมชนเก่าแก่ตั้งแต่สมัยที่การสัญจรยังใช้
ล�าน�้าเป็นหลัก มีตลาดห้องแถวเก่าแก่ที่สร้างมายาวนานตั้งเรียงราย
เลียบริมล�าน�้า เป็นชุมทางค้าขายที่ส�าคัญในเขตพื้นที่ลุ่มน�้าปากพนัง
เป็นแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่าง “เกลอเลและเกลอเขา”
ซึ่งเป็นจารีตในยุคที่การค้าขายยังอยู่ในรูปการแลกเปลี่ยนสินค้า
ระหว่างชุมชนบนขุนเขาและชายฝั่งทะเล โดยไม่มีเงินตราเบี้ยอัฐ
เป็นสื่อกลาง นี่คือความงดงามของวัฒนธรรมท้องถิ่นปักษ์ใต้ที่มีมา
นับแต่อดีต
เมื่อการเดินทางด้วยรถยนต์เข้ามาแทนที่การคมนาคมทางน�้า
ชุมชนคลองแดนที่เคยคึกคักก็กลับเงียบงัน เมื่อผู้คนอพยพออกไป
หาที่ท�ากินใหม่ กระทั่งได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดยใช้
ทุนทางธรรมชาติและวัฒนธรรมริมคลองมาพัฒนาบริหารจัดการ
๒
ภาพ ๑ แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม
ประเพณีชาวปักษ์ใต้ที่รอต้อนรับ
การมาเยือนของนักท่องเที่ยว
ภาพ ๒ ทุกย�่าค�่าวันเสาร์ ย่าน
ตลาดเก่าริมคลองแดนจะคึกคัก
และคลาคล�่าไปด้วยผู้มาเยือน
ภาพ ๓ ข้าวย�าปักษ์ใต้หร่อยจังฮู้
ในตลาดคลองแดน
ภาพ ๔ ชุมชนคลองแดนต้อนรับ
ด้วยการแสดง “โนรา”
๑ ๓
20