Page 23 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 23
การท่องเที่ยวให้ยั่งยืนด้วยความร่วมมือของคนในชุมชน ใช้ธรรมชาติ
เป็นฐานไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม วิถีทางธรรมชาติ และ
วัฒนธรรม เปิดโอกาสให้ผู้มาเยือนได้สัมผัส เรียนรู้และเข้าใจ
ธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตของคนถิ่นนี้
โดยเรียกขานกันว่า “ตลาดน�้าคลองแดน” ซึ่งจะติดตลาดกัน
เฉพาะวันสุดสัปดาห์เท่านั้น
จุดเด่นของตลาดน�้าคลองแดนคือ ความหลากหลายของ
อาหารท้องถิ่น เช่น ปลาทอดทรงเครื่องสูตรดั้งเดิม แป้งแดง ข้าวย�า
ข้าวมันแกงไก่ เต้าคั่ว ขนมกอ ขนมจาก ขนมลูกโดน ขนมโค
ขนมพิมพ์ ขนมทราย (ขนมขี้หนู) ขนมดอกล�าเจียก ขนมหน้ามัน และ
อาหารพื้นบ้านอีกมากมาย เน้นที่ความสะอาด อร่อย และราคาถูก
พร้อมทั้งใช้วัสดุธรรมชาติห่อรัดมัดมาเป็นภาชนะ แถมยังมีการแสดง
โนราบนเวทีกลางน�้าให้เพลิดเพลินระหว่างทานอาหารด้วย
นอกจากตลาดนัดแล้ว ชุมชนคลองแดนยังมีโฮมสเตย์
หลายแห่งบริการนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสวิถีชนบท วิถีพุทธ
วิถีคลอง เช่น โฮมสเตย์ครูสายัณห์ เรือนพี่โย บ้านร้อยปี บ้านริมน�้า
เรือนไม้ไทย ระเบียงไทย และโฮมสเตย์ของชาวบ้านริมคลอง
อีกหลายแห่ง
บ้านคลองแดน ตั้งอยู่ตรงบริเวณรอยต่อจังหวัด
นครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา ไปตามทางหลวง
หมายเลข ๔๐๘ ห่างจากย่านตัวเมืองสงขลาและย่าน
ตัวเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ ๑๐๐ กิโลเมตร
“การท่องเที่ยวโดยชุมชน” ถือเป็น
ทิศทางใหม่ที่ส�าคัญต่อการพัฒนาการ
ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีชุมชนท้องถิ่น
เป็นศูนย์กลางในการก�าหนดทิศทาง คิดค้น
กิจกรรม และน�ามาสู่การพัฒนาวิถีและคุณภาพ
ชีวิตของผู้คนในชุมชน พร้อม ๆ กับสร้างความเข้าใจอันดี
ต่อกันระหว่างเจ้าบ้านและนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน เพื่อก่อเกิด
มิตรภาพอย่างยั่งยืน และสร้างสายใยสัมพันธ์ให้คนที่เคยมา
ท่องเที่ยว ช่วยบอกกล่าวเรื่องราวไปยังเพื่อนฝูงมวลมิตร และ
ท�าให้คนที่เคยมาครั้งหนึ่งแล้วอยากกลับไปใหม่อีกครั้งและ
๔ อีกครั้งเรื่อยไป
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 21