Page 91 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 91
รูปร่างเหมือน ก็ท?าง่าย แต่ถ้าท?าให้เสียงดีจะท?ายาก
ต้องมีความละเอียดและช?านาญ แม้ว่าของง่าย ๆ เช่น ฉิ่ง
ถ้าสองฝามีเสียงไม่เท่ากัน เวลาตีจะไม่เป็นเสียงเดียว
กลายเป็นเสียงประสานไป ช่างดุริยบรรณจะกลึงและ
เทียบเสียงจนฉิ่งทั้งสองฝามีเสียงเดียวกัน”
ครูจ้อนลาออกจากร้านดุริยบรรณเมื่อปลายปี
๒๕๑๙ แล้วน?าความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมา
เปิดร้านผลิตและจ?าหน่ายเครื่องดนตรีไทยของตนเอง
บริเวณย่านปู่เจ้าสมิงพราย พร้อมกันนั้นก็ขวนขวาย
เรียนดนตรีไทยเพิ่มเติมกับครูเฉลิม ม่วงแพรศรี ซึ่ง
ภายหลังท่านได้รับเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ
“ผมเล่นซออู้ ซอด้วง ขลุ่ย อยู่แล้ว พอปี ๒๕๒๑
ผมมาเรียนซอสามสายเพิ่มเติมกับครูเฉลิม ม่วงแพรศรี
อยู่เกือบสิบปี เรื่องการบรรเลงเพลงต่าง ๆ ท่านสอนให้
โดยไม่ปิดบัง ผมจึงรู้ลึกขึ้นทั้งเรื่องดนตรี และเรื่องเสียง
ซึ่งมีประโยชน์ต่อการผลิตเครื่องดนตรีไทย”
ร้านแรกด?าเนินกิจการมาได้ ๕ ปี ครูจ้อน
ก็ย้ายมาเปิดร้านใหม่แห่งนี้ที่อ?าเภอบางพลี จังหวัด
สมุทรปราการ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๕ เดิมใช้ชื่อร้าน “ดุริยำงค์
ไทย” ก่อนเปลี่ยนเป็น “ครูจ้อนกำรดนตรี” เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จวบจนปัจจุบัน กลายเป็นที่รู้จัก
ในแวดวงดนตรีไทยไม่เฉพาะย่านบางพลี ปากน?้า
สมุทรปราการ แต่ชื่อเสียงยังขจรขจายไปทั่วประเทศ
ร้านครูจ้อนการดนตรีเป็นอาคารขนาด ๔ คูหา
ตั้งอยู่ริมถนนกิ่งแก้ว ขายเครื่องดนตรีไทยตั้งแต่ซออู้
ซอด้วง ซอสามสาย ขิม จะเข้ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม
ฆ้องวง ซึ่งผลิตจากโรงงานที่ตั้งอยู่ด้านหลังร้านอีกที
ภายในอาคารโรงงานชั้นเดียวพื้นที่ค่อนข้าง
กว้างขวาง บนพื้นมีเศษไม้จากการเลื่อย กลึง หรือถาก
ตกเกลื่อนเป็นสีน?้าตาลทั่วไปหมด คนงานสิบกว่าชีวิต
ประจ?าอยู่หน้าแท่นเครื่องมือของตน ก?าลังขะมักเขม้น
ท?างานอย่างตั้งใจ ไล่มาตั้งแต่โต๊ะติดประตูทางเข้า ช่าง
ผู้ชายก้มหน้าคร?่าเคร่งแกะชิ้นมุกที่ใช้ประดับลายตาม
แบบบนคันของซอด้วง ถัดมาคนงานหญิงนั่งขัดกะลา
๖ มะพร้าวที่ใช้ท?าส่วนกะโหลกของซอสามสาย
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๐ 89