Page 51 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 51
๔
๕
๑ รับลูกแล้วรีบวิ่งหึ่มกลับไปที่ผู้ตี
๒ วิ่งหึ่มอย่าให้เสียงขาดหาย
๓-๕ สมาชิกผู้เล่น (ยอด เนตรสุวรรณ ภาพ)
๖ อุปกรณ์การเล่นหาได้ง่ายจากรอบ ๆ ตัว
กฎกติกาและทดลองเล่นดู พวกเขาก็สามารถส่งท่อนไม้ขนาดหนึ่ง
คืบลอยไปข้างหน้าได้อย่างไม่ยากเย็น หลังจากซ้อมอยู่สองสามครั้ง
ทุกคนก็เริ่มรู้สึกสนุกกับการเล่นไม้หึ่มขึ้นมาแล้ว
การเล่นของไทยทั้งหมดสนับสนุนให้เด็กได้ออกก?าลังกาย
สนุกสนานอยู่กลางแจ้ง เป็นการส่งเสริมเรื่องสุขภาพไปในตัว
การเล่นไม้หึ่มยังฝึกทักษะของการใช้สายตาไหวพริบ ทุกสัดส่วน
ของร่างกายได้ขยับตัว เด็ก ๆ ต่างส่งเสียงสนุกสนาน หัวเราะเมื่อ
ฝ่ายรุกไม่สามารถงัดไม้ให้ลอยโด่งปลิวไปข้างหน้าได้ รวมทั้งในยาม
เมื่อฝ่ายรับเคลื่อนตัวไปหาไม้ลูกที่เริ่มลอยตกลงมาตามแรงดึงดูด
ของโลก สามารถคว้ารับได้และส่งเสียงหึ่มวิ่งกลับไป เมื่อเราเล่น
จนจบเด็กทุกคนมีสีหน้าสดใสเปื้อนไปด้วยรอยยิ้มและเม็ดเหงื่อ
บนใบหน้า
การเล่นไทยมีเสน่ห์เสมอ ได้ทั้งความเพลิดเพลิน สุขภาพ
การเข้าสังคม อีกทั้งยังสอนให้ผู้เล่นยอมรับในกฎกติกา เป็น
ความสนุกที่มาพร้อมประโยชน์ สิ่งเหล่านี้คือภูมิปัญญาที่
คงอยู่ในการเล่นของไทย
๔ ๖
เมษายน-มิถุนายน ๒๕๖๐ 49