Page 46 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 46

๑                                               ๒





          ๑ ทดลองงัดครั้งแรก
          ๒ ฝ่ายรับวิ่งหึ่ม
          ๓ ขีดวงกลมรอบผู้เล่น เป็นฐานฝ่ายรุก
          ๔ ฝ่ายรุกงัดลูกให้ลอยขึ้นโดยฝ่ายรับเตรียมพร้อมรับ







               การเล่นไทยที่น?ามาเล่าสู่กันฟังในคราวนี้เรียกว่า “ไม้หึ่ม”
          ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของไทย
          ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในอดีตการเล่นของเด็กไทยล้วนประยุกต์
          จากสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต สิ่งที่น?ามาใช้เล่นสามารถหาได้ง่าย

          รอบตัว เช่น ไม้ ก้อนหิน เป็นต้น การเล่นไม้หึ่มมีเล่นกันกว้างขวาง
          แทบทุกจังหวัดในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ท?าให้มีชื่อเรียก
          แตกต่างกันออกไป บางที่เรียกไม้หึ่ง บ้างเรียกไม้หึงหรืออีหึง
          บางท้องที่เรียกแปลกออกไปว่าไม้จ่า และยังมีที่เรียกว่าไม้แคะด้วย
          แต่เดิมในเทศกาลสงกรานต์นิยมให้มีการเล่นไม้หึ่ม และในฤดูหนาว
          นิยมเล่นกันกลางแจ้งหลังการเกี่ยวข้าวแล้วเสร็จ
               ไม่มีข้อมูลระบุชัดเจนว่าการเล่น “ไม้หึ่ม” เริ่มเล่นครั้งแรก
          เมื่อใด แต่น่าจะเริ่มเล่นมาตั้งแต่สมัยอยุธยามาจนสมัยรัตนโกสินทร์
          ดังปรากฏในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่กล่าวถึงการเล่นไม้หึ่ม
          ว่า
               “เมื่อกลางวันยังเห็นเล่นไม้หึ่ง  กับอ้ายอึ่งอีดูกลูกอีปิ
               แล้วว่าเจ้าเล่าก็ช่างนั่งมึนมี  ว่าแล้วซิอย่าให้ลงในดิน”
                                                               ๓


          44
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51