Page 87 - E-Book Culture 02_20182
P. 87

จากหนังสือคู่มือ ๔ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง
                                                                เพื่อการท่องเที่ยว บ้านเหมืองกุง อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

                                                                ได้ประพันธ์ถึงบ้านเหมืองกุงเอาไว้ว่า
                                                                    “อารยธรรม ความดี มีเรื่องเล่า
                                                                     อารยธรรม บ้านเรา ร่วมเล่าเรื่อง
                                                                     อารยธรรม น�้าต้น คนโฑเมือง
                                                                     อารยธรรม รุ่งเรือง บ้านเหมืองกุง”

























                                                                น�้าต้นขนาดใหญ่ เปรียบคล้ายกับเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน

                                                                   คนโฑยักษ์ที่สูง ๑๘ เมตร ตั้งตระหง่านอยู่หน้าหมู่บ้าน
                                                                ติดกับสี่แยกถนนใหญ่ ทางหลวง ๑๐๘ เชียงใหม่-หางดง คนโฑนี้
                                                                แม้จะมีอายุเพียงสิบกว่าปี (สร้างเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๘)

                                                                แต่กลับเป็นเหมือนสมุดบันทึกและสัญลักษณ์ที่เก็บซ่อนเรื่องราว
                                                                และประวัติศาสตร์ ๒๐๐ ปี ของหมู่บ้านเหมืองกุงเอาไว้ได้
                                                                เป็นอย่างดี
                                                                    จากประวัติศาสตร์เมื่อครั้งที่เชียงใหม่ได้ตกอยู่ใต้อ�านาจของ
                                                                พม่ามาอย่างยาวนาน จนสู่ยุคที่อาณาจักรล้านนาเริ่มมีความสงบ

                                                                เรียบร้อย และเข้าสู่ “ยุคสร้างบ้านแปงเมือง” เมื่อพระยากาวิละ
                                                                ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ จากรัชกาลที่ ๑ ให้เป็นเจ้าเมือง
                                                                เชียงใหม่ จึงได้เริ่มการฟื้นฟูบ้านเมือง โดยเมืองเชียงใหม่นับเป็น
                                                                จุดเริ่มต้นรวบรวมไพร่พลจากเมืองนครล�าปางและที่ต่างๆ เข้ามา
                                                                เพื่อเป็นการบูรณะฟื้นฟูบ้านเมือง โดยการเรียกพลเมืองที่
                                                                หลบซ่อนอยู่ตามป่าเขาให้กลับคืน รวมถึงการยกพลไปตีเมือง

                                                                ต่างๆ ในแคว้นสิบสองปันนา ซึ่งมีชนเผ่าต่างๆ เช่น ไทยใหญ่
                                                                ลื้อ เขิน ยาง และอื่นๆ เข้ามาเป็นพลเมืองของเชียงใหม่ นี่คือ

                                  การล�าเลียงงานปั้นเข้าเตาเผาขนาดใหญ่  ที่มาของค�าว่า “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง”
                                                                                               เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑  85
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92