Page 91 - E-Book Culture 02_20182
P. 91
ของตลาด มีบางช่วงหม้อน�้าก็ประยุกต์เป็น หม้อก๊อก (หม้อที่ติดก๊อกน�้า) จะเห็นได้ว่า ป้าต้อย บัวแก้ว สีจันทร์
ปัจจุบันน�้าต้นลายกลีบมะเฟือง น�้าต้นลายมะยม มีลวดลายนูนต�่าสวยงาม หาคนปั้น ก�าลังรอให้ดินที่ปั้นหมาดและทรงตัว
ได้น้อยลงทุกวัน ท�าให้หาดูได้ยาก ปัจจุบันมักจะเป็นลายเส้นกดซึ่งท�าได้รวดเร็วกว่า เพื่อจะน�าไปปั้นต่อส่วนคออีกครั้งได้
การแกะลายน�้าต้นที่บรรจงแกะด้วยมืออย่างสวยงามของลุงเล็กก็ก�าลังจะเลือนหาย ด้วย
อายุที่มากขึ้นกับเรี่ยวแรงที่ลดน้อยถอยลงทุกวัน
หมู่บ้านเหมืองกุง ได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มหัตถกรรมขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และได้รับ
เลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และองค์กรพัฒนาชุมชน อ�าเภอหางดง ให้เป็น
หมู่บ้านโอท็อป จากชาวบ้านที่ก�าลังจะเลิกรา ก็หันกลับมาให้ความส�าคัญ
กับงานเครื่องปั้นดินเผากันอีกครั้ง ปากทางเข้าหมู่บ้านจึงเกิดร้านค้าชุมชนเล็กๆ
เรียงรายรอขายงานฝีมือให้กับผู้สนใจและนักท่องเที่ยว ณ วันนี้งานปั้นดินต่างๆ
ที่บ้านเหมืองกุง ได้พัฒนาออกมาหลากหลายรูปแบบแทบจะนับไม่ถ้วน นอกจาก
หม้อน�้า และน�้าต้นแล้ว ยังมีที่เขี่ยบุหรี่ ตุ๊กตา โคมไฟ กระถาง อ่างบัว แจกัน โมบาย
และของช�าร่วยต่างๆ อีกมากมาย ผลิตขึ้นเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้จับจ่ายซื้อหาติดไม้
ติดมือกลับบ้านเป็นของที่ระลึก
วันนี้ตลาดเครื่องปั้นดินเผาอาจจะดูเงียบเหงาและซบเซาไปตามกระแส
เศรษฐกิจ หรือด้วยอุตสาหกรรมภาชนะโลหะและพลาสติกต่างๆ ที่เข้ามาทดแทน
แต่บ้านเหมืองกุงยังคงมีอีกสิบกว่าครัวเรือน ที่ยังคงสืบสานอาชีพปั้นดินกันอย่าง
เหนียวแน่น
แม้ปัจจุบันกระแสการพัฒนาดูเหมือนลุกลามรวดเร็วมาเพียงไร แต่สองข้างทางเดิน
ในหมู่บ้านเหมืองกุง ณ วันนี้ เราจะยังคงเห็นป้าต้อย..นั่งปั้นน�้าต้นอยู่ในรั้วบ้านเพียง
ล�าพัง พร้อมกับมีรอยยิ้มให้กับทุกคนที่เดินผ่านหรือแวะพูดคุย ป้าปวน..ก็ยังคงพยายาม
รักษารูปทรงน�้าต้นดั้งเดิมด้วยสองมือมาตลอดชีวิต ช่างประพัทธ์..ช่างจันทร์..ยังคง
อุ้มดินก้อนใหญ่ๆ น�ามาปั้นอ่างบัวและแจกันอยู่อย่างไม่เว้นวัน
ทั้งหมดทั้งมวลของบ้านเหมืองกุงที่ผ่านมากว่า ๒๐๐ ปีนั้น ปัจจุบันเราก็หวัง
เพียงว่า งานฝีมือต่างๆ เหล่านี้ จะยังมีลมหายใจอยู่รอดปลอดภัยจากการเป็นเหยื่อ ป้าค�าปวน ทองจ�ารัส
ของนวัตกรรมสมัยใหม่เท่านั้น ที่ยังรักการปั้นน�้าต้นอย่างดั้งเดิมมาโดยตลอด
*หมายเหตุ
บ้านเหมืองกุงในอดีตเดิมชื่อว่า บ้านสันดอกค�าใต้ ไม่มีหลักฐานว่าชื่อ เหมืองกุง
นั้นเปลี่ยนมาเมื่อใด แต่ค�าว่า กุง คือที่เก็บน�้าในสมัยเก่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน การขุด
ดินลงไปเป็นหลุมเป็นโพรง ชาวบ้านก็เรียกว่า กุง เช่นกัน
ติดต่อสอบถาม
บ้านเหมืองกุง หมู่ที่ ๗ ต�าบลหนองควาย อ�าเภอหางคง จังหวัดเชียงใหม่ ๕๐๒๓๐
Facebook Baan Muang Kung handicraft. ต�านานน�้าต้นคนปั้นดิน
โทร. ๐๘ ๔๓๘๙ ๖๖๑๕ และ ๐๘ ๙๕๕๒ ๗๐๘๒
อ้างอิงจาก
งานวิจัยของอาจารย์สมโชติ อ๋องสกุล จากหนังสือคู่มือ ๔ หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ฮานน�้าบ้วย เมื่อหลายสิบปีก่อน เกือบทุกที่มักจะมีตั้งไว้
เพื่อการท่องเที่ยว บ้านเหมืองกุง และจากค�าบอกเล่าจากคนในชุมชนแห่งบ้านเหมืองกุง แถวหน้าบ้าน เพื่อให้คนที่เดินทางผ่านไปมาได้แวะดื่มกิน
เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑ 89