Page 22 - E-Book Culture 02_20182
P. 22
เขมร ลาว ญวน จีน แขกอิสลาม แขกฮินดู แม้กระทั่งชนเผ่า
พื้นเมืองทั่วไป บทบาทหน้าที่ของดนตรีเป็นทั้งสื่อประกอบ
พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ประกอบการแสดงนาฏศิลป์ โขน
หนังใหญ่ และเป็นสื่อบันเทิงที่ใช้ขับกล่อมจิตใจผู้ฟัง
การศึกษาหลักฐานเกี่ยวกับวงดนตรีไทยในสมัยอยุธยานั้น
นอกจากเอกสารการเดินทางจดหมายเหตุของลาลูแบร์
เอกอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส
ซึ่งได้เข้ามาเจริญพระราชไมตรี ณ กรุงสยาม เมื่อ พ.ศ.
๒๒๓๐ สมัยปลายรัชกาลพระนารายณ์มหาราช หรือ
วรรณคดีบางเล่มที่กวีอยุธยารจนาขึ้น เช่น บุณโณวาท
ค�าฉันท์ ลิลิตยวนพ่าย เป็นต้น
เครื่องดนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีครบถ้วนทั้งดีดสี
ตีเป่า ในบางยุคสมัยประชาชนใฝ่ใจเล่นดนตรีกันมาก เช่น
การกล่าวถึงในกฏมณเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ๑
(พ.ศ. ๑๙๙๑-๒๐๓๑) ความว่า “…ห้ามร้องเพลงเรือ
เป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีโทนทับ
ในเขตพระราชฐาน” แสดงให้เห็นได้ว่าชาวอยุธยาครั้งนั้น ๑. ปิ๊จ ซารัต โทนขลุ่ยฉิ่งฉาบระนาดฆ้อง
มีความสนใจในเครื่องสายเป็นอย่างมาก และวงดนตรีที่ได้ ยอดนักจับเป็ยแขมร์ ประลองเพลงขับกล่อมพร้อมหน้า
รับความนิยมอีกประเภทคือมโหรี ซึ่งมีซอสามสาย กระจับปี่ ๒. การรวมเป็นวงของ จงเจริญศรีสวัสดิ์ทุกเวลา
โทน ร�ามะนา ขลุ่ย กรับพวง และผู้ขับร้องล�าน�า มีการผูก กระจับปี่เยาวชนไทย ให้ปรีชาชาญเชี่ยวในเชิงพิณฯ
ค�ากลอนเป็นบทมโหรีใช้ร้องส่งกันมาก ๓. การบรรเลงกระจับปี่
ขอพระเดชาภูวนาถ พระบาทปกเกล้าเกศี ข้าผู้ ประกอบนักขับร้อง (เพลงยาวไหว้ครูมโหรี ครั้งกรุงศรีอยุธยา)
จ�าเรียงเครื่องมโหรี ซอกรับกระจับปี่ร�ามะนา ของแขมร์ นางขับขานเสียงแจ้ว พึงใจ
ตามเพลงกลอนกลใน ภาพพร้อง
มโหรีบรรเลงไฉน ซอพาทย์
ทับกระจับปี่ก้อง เร่งเร้ารัญจวนฯ
(จินดามณี กรุงศรีอยุธยา)
ตั้งแต่สุโขทัย เรื่อยมาจนกรุงศรีอยุธยา
จนเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ เรื่องราวของ
“กระจับปี่” มีปรากฏมาในเอกสารและความ
ทรงจ�าเชิงคติชนวิทยาโดยตลอด หลักฐาน
ส�าคัญมักปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนัง อาทิ
ในพระที่นั่งพุทไธสวรรค์ ในพิพิธภัณฑสถาน
แห่งชาติพระนคร จิตรกรรมฝาผนังวิหาร
พระนอนตรงเบื้องพระเศียรพระพุทธไสยาสน์
๒ ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น
20