Page 85 - Culture4-2017 วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๔ ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๖๐
P. 85
เรื่องที่ท�าให้อาจารย์ยรรยงปลาบปลื้มภาคภูมิใจอย่างยิ่ง
คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถ-
บพิตร ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณคัดเลือกภาพด้วยพระองค์เอง
จากภาพถ่ายเกือบ ๒๐ ภาพที่คณะกรรมการคัดเลือกน�าขึ้น
ทูลเกล้าฯ ถวาย ทั้งทรงให้เหตุผลว่า “...ที่เลือกภาพนี้เพราะ
มองเห็นว่านกในภาพยังบินต่อไปได้...”
ผลงานภาพถ่ายขาวด�าทั้งหมดของอาจารย์ยรรยงนั้น
ท่านเป็นผู้ลงมือล้างฟิล์ม อัด ขยายภาพด้วยตนเองทุกขั้นตอน
ดังที่ท่านมักจะแนะน�านักถ่ายภาพรุ่นหลังว่า คนที่ถ่ายภาพขาวด�า
ควรจะท�างานในห้องมืดด้วยตนเอง
“ผมว่าสองอย่างนี้มันคู่กัน ถึงคุณถ่ายรูปดี แต่ล้างอัด
ในห้องมืดไม่ดี รูปก็ออกมาไม่สวย หรือคุณท�างานห้องมืดเก่ง แต่
ถ่ายภาพมาไม่มีความคมชัด จับจังหวะไม่ได้ รูปก็ไม่ดี คือทุกอย่าง
ต้องพร้อมถึงจะได้ผลงานที่ดี ตั้งแต่การใช้กล้อง อุปกรณ์ เรื่องราว
ที่น�าเสนอ การจัดองค์ประกอบภาพ และเทคนิคในห้องมืด”
ถึงแม้ปัจจุบันจะเป็นยุคของการถ่ายภาพดิจิทัลส่งผลให้
การถ่ายภาพด้วยฟิล์มลดความนิยมลงอย่างรวดเร็ว แต่อาจารย์
ยรรยงยังเชื่อมั่นว่าภาพถ่ายด้วยฟิล์มขาวด�ามีคุณค่ามากพอที่จะ
ไม่สูญหายไปตามกาลเวลา
๕ “ผมเปรียบเทียบว่าการถ่ายภาพดิจิทัลก็เหมือนเราเข้าร้าน
สะดวกซื้อหรือฟาสต์ฟู้ด สั่งปั๊บได้กินเลย แต่การถ่ายภาพขาวด�านั้น
เหมือนเราต้องไปตลาด หาซื้อของสดกลับมาท�ากับข้าวถึงจะได้
กิน ภาพถ่ายขาวด�าจึงมีคุณค่าและมูลค่าในระดับสากล ให้ความ
รู้สึกสวยงามแบบคลาสสิก แล้วถ้าเราล้างอัดภาพตามกระบวนการ
ที่ถูกต้อง รูปนั้นจะเก็บได้เป็นร้อยปี ต่างจากภาพถ่ายดิจิทัลที่เก็บ
ไปนาน ๆ สีจะซีดจางลงเร็วกว่า”
ทุกวันนี้อาจารย์ยรรยงอายุสูงวัยถึง ๗๙ ปีแล้ว จึงไม่สะดวก
ออกไปตระเวนถ่ายภาพบ่อยครั้งเท่าเมื่อก่อน ทว่าท่านยังคงอยู่ใน
โลกของภาพถ่ายขาวด�า เพราะเมื่อมีเวลาก็จะเข้าท�างานในห้องมืด
โดยน�าฟิล์มขาวด�าที่ถ่ายมาอัดขยายภาพเตรียมไว้ เพราะตั้งใจจะ
จัดแสดงภาพถ่ายของตนอีกครั้งในปีหน้า (พ.ศ. ๒๕๖๑)
เชื่อว่านักถ่ายภาพและผู้ที่เห็นคุณค่าศิลปะภาพถ่าย
คงเฝ้ารอให้วันนั้นมาถึง เพื่อจะได้ไปชื่นชมผลงานของ
อาจารย์ยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติและช่างภาพ
ขาวด�าชั้นครูของเมืองไทย
๖
ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๖๐ 83