Page 68 - Culture3-2017
P. 68
ต้นก�าเนิดอักษรธรรมอีสาน
อักษรธรรมอีสานมีรูปลักษณะกลมคล้ายกับอักษรธรรม
ล้านนา หรือตัวเมือง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอักษรยวน จะมี
แตกต่างกันบ้างบางตัวเท่านั้น สาเหตุที่คล้ายกันเป็นเพราะอักษร
ธรรมอีสานได้รับอิทธิพลและสืบทอดมาจากอักษรธรรมล้านนา
แห่งอาณาจักรล้านนา ซึ่งมีพัฒนาการมาจากอักษรมอญโบราณแห่ง
อาณาจักรหริภุญไชย ดังที่ ธวัช ปุณโณทก (๒๕๔๐ : ๕๔) กล่าวว่า
เมื่อศึกษารูปแบบของอักษรตัวธรรมที่ใช้ในภาคอีสานและล้านช้าง
แล้วพบว่ามีรูปแบบคล้ายกับอักษรยวนหรืออักษรตัวเมืองใน
ภาคเหนือ ซึ่งทั้งอักษรตัวธรรมและอักษรตัวยวนในภาคเหนือสืบทอด
๑ มาจากอักษรมอญโบราณที่หริภุญไชย นั่นคือ อักษรมอญหริภุญไชย
พุทธศตวรรษที่ ๑๘ (คริสต์ศตวรรษที่ ๑๒) เป็นต้นแบบของอักษร
ธรรมล้านนาและอักษรธรรมอีสาน และภายหลังอักษรธรรมล้านนา
และอักษรธรรมอีสานได้พัฒนาแตกต่างออกไปหลายประการ เช่น
อักษรธรรมล้านนาได้เพิ่มไม้ก�ากับเสียงวรรณยุกต์ ไม้ห้าม (ระห้าม)
หรือเครื่องหมายก�ากับเสียงตัวพยัญชนะ (ธวัช ปุณโณทก, ๒๕๕๒ :
๑๙๓) ซึ่งอักษรธรรมอีสานไม่มี โดยเฉพาะเครื่องหมายวรรณยุกต์
๒ แต่ในสมัยหลังพบว่ามีการเพิ่มเครื่องหมายวรรณยุกต์เข้ามาใช้ใน
การเขียนบ้าง อาจเพราะได้รับอิทธิพลจากภาษาไทยปัจจุบัน
สาเหตุที่เชื่อว่าอักษรธรรมอีสานได้รับอิทธิพลและสืบทอด
มาจากอักษรธรรมล้านนาเพราะหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น
เครื่องยืนยันที่ชัดเจนโดยกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักร
ล้านช้าง (รวมถึงภาคอีสานบางส่วน) และอาณาจักรล้านนาใน
สมัยราชวงศ์มังราย ทั้งทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และความ
สัมพันธ์ทางสายเลือดหรือการแต่งงานแห่งเจ้าผู้ปกครองอาณาจักร
ทั้งสอง
ที่มาของชื่ออักษรธรรม
๓ สาเหตุที่ชื่อว่าตัวอักษรธรรมนั้น เพราะใช้ตัวอักษรชนิดนี้
บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น
พระไตรปิฎก พระธรรมคัมภีร์ต่าง ๆ เป็นต้น ด้วยถือว่าเป็นอักษร
ชั้นสูง อักษรศักดิ์สิทธิ์ จึงเรียกว่า “อักษรธรรม” ตัวอักษรชนิดนี้
ภาพ ๑ ใบลานสั้น ใช้ใน สปป. ลาว ก็เรียกว่า “ตัวธรรมลาว” ใช้ในภาคอีสานก็เรียกว่า
ภาพ ๒ อักษรธรรมในไม้ประกับ “ตัวธรรมอีสาน” ตามแต่ละท้องถิ่นจะเรียกแต่ก็คือตัวอักษรชนิด
ภาพ ๓ อักษรธรรมในยันต์
เดียวกันนั่นเอง นอกจากนี้อักษรธรรมอีสานยังมีการบันทึกเรื่องราว
66