Page 27 - Culture3-2017
P. 27

นักดนตรีระดับแนวหน้าของเมืองไทย อย่างวงดุริยางค์ฟีลฮาร์โมนิก
                                                                 แห่งประเทศไทย (Thailand Philharmonic Orchestra: TPO) หรือ
                                                                 การไปแสดงต่างประเทศ เช่นเดียวกับครูทองจันทร์ที่ยืนยันว่า การเป็น
                                                                 หมอแคนสร้างชีวิตให้ประสบความส�าเร็จ เลี้ยงดูครอบครัวได้ แคนได้
                                                                 พาไปเปิดโลกกว้าง “แต่ก่อนคนว่าเป็นวณิพก ผมได้ใช้วิชาเป่าแคนนี่
                                                                 ไปถึงเมืองนอก มีรถขับ มีบ้านได้ก็เพราะแคน เป็นอาชีพที่ภูมิใจ”


                                                                 หมอแคนรุ่นใหม่หัวใจรักษ์ศิลป์
                                                                      มนต์เสน่ห์เสียงแคนที่มีทั้งท่วงท�านองแว่วหวานและ
                                                                 ท่วงท�านองเร้าใจผสมผสานลีลาอันสนุกสนานยังคงดึงดูดคน
                                                                 ยุคใหม่ด้วย อย่างเช่น “อ้น แคนเขียว” คือตัวอย่างของหมอแคน

                                                                 รุ่นใหม่ที่น�าศิลปะการเล่นแบบพื้นบ้านดั้งเดิมมาผสมผสานเข้ากับ
                                                                 ดนตรีสากล
            ๓                                                         ปัจจุบันแคนยังไม่หายไปจากหัวใจลูกอีสานรุ่นใหม่ ดูได้
                                                                 จากต้นปีที่ผ่านมา การประกวด “เดี่ยวแคน” ในงานเทศกาลไหม
                                                                 นานาชาติ ประเพณีผูกเสี่ยวและงานกาชาดจังหวัดขอนแก่น
                                                                 เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้หมอแคนรุ่นเล็กอย่าง “เด็กชายภานุวัฒน์
                                                                 ศรีชุม” ซึ่งเริ่มเป่าแคนมาตั้งแต่อายุ ๘ ขวบ หรือแม้กระทั่ง
                                                                 หมอแคนหญิงหนึ่งเดียวบนเวที คือ “นางสาวมุกดา ทองโคตร”
                                                                 สาววัย ๒๔ ปี ผู้ชื่นชอบเสียงดนตรีพื้นเมือง และหัดเป่าแคนตั้งแต่
                                                                 อายุ ๑๑ ปี เพราะได้ยินตากับปู่เป่าแคนที่บ้าน แม้ว่าหมอแคนหญิง
                                                                 อาจจะไม่สามารถออกลีลาท่าทางได้เท่าหมอแคนผู้ชาย แต่การ
                                                                 เป่าแคนด้วยท่วงท�านองที่ไพเราะ ก็สามารถจับใจผู้ฟังได้ไม่แพ้
                                                                 หมอแคนผู้ชายเลย



                  สมบัติ สิมหล้า หมอแคนวัย ๕๓ ปี จากมหาสารคาม เป็น    การส่งต่อภูมิปัญญาของชาวอีสานจากรุ่นต่อรุ่น ท�าให้
            อีกคนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป่าแคนได้ไพเราะมากแม้ดวงตา  ทุกวันนี้เราจึงเห็นหมอแคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา แคน
            จะบอดสนิททั้งสองข้าง เด็กชายสมบัติเริ่มหัดเป่าแคนตั้งแต่ ๖ ขวบ   กลายเป็นเครื่องดนตรีที่เป็นจิตวิญญาณของดนตรีพื้นบ้าน
            พ่อเป็นหมอแคนเป็นครูคนแรก และสมบัติก็ฝึกฝนมาเรื่อย ๆ กับ   อีสาน เพราะเสียงแคนไม่ได้เป็นเสียงของเครื่องดนตรี แต่
            ครูหลายคน ครั้งที่มารู้จักกับหมอแคนทองจันทร์ เล่ากันว่าแม้จะ   ทั้งเสียงแคนและตัวแคนคือวิถีชีวิต คือจิตวิญญาณของ
            เป่าแคนให้ฟังก็ยังเป่าตามได้ไม่ดี ครูทองจันทร์จึงใช้วิธีน�าปลอกมือ   ลูกอีสานทุกคน เป็นสายใยที่ผูกพันร้อยรัดความเป็นหนึ่ง
            มาถักเข้ากับมือของตนและให้มือของสมบัติทาบ มัดติดกัน จนกระทั่ง  เดียวกัน ยามใดที่เสียงแคนดังขึ้นกลางงาน ไม่ว่าใครก็ตาม
            เป่าได้ในที่สุด                                      ที่เป็นคนอีสาน หัวใจจะถูกปลุกเร้า เลือดในกายจะเต้นเร่า
                  ฝีมือเดี่ยวแคนของสมบัติเป็นที่รู้จักทั่วประเทศจากเวที   ให้ขยับแขนขา ความอบอุ่นของบ้านเกิดส่งผ่านเสียงเพลง
            ประกวดและรายการโทรทัศน์ และเคยได้รับเชิญให้แสดงดนตรีร่วมกับ   ให้ชีวิตกลับชื่นบานอีกครั้ง







                                                                                           กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๐    25
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32