Page 74 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๒ เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๐
P. 74
ตัวอย่างเรื่องสั้น
ญามฆอฮ
ฮนัมปึรนาฮ อาเทิง กี เฆย เคียน นางซือ ฮงูฮ
โด ลืง บรี อาทิง ดีอูย ดีโฌง นองปึรนาฮ โดก ฮีก ยาก ฮนัม
ฆอฮ อา เทง ฮงูฮ โด ลืง บรี มา บอน เปอะ ระมาบ ปูก ยูก
ปูก ซาโล จะแรด ญอก เปล เคียน นางซือ กานา เฆรด
จะเอด อาเทิง อาฌาก โซบ มอ ละฮืร จะเอด
สมัยอดีต
ที่ผ่านมา พวกเราไม่เคยเรียนหนังสือ เผ่ามลาบรี
อยู่ในป่า พ่อแม่สมัยก่อนล?าบากในการหาอาหาร ไม่มีไร่
แต่ปัจจุบันนี้ เผ่ามลาบรีได้มาอยู่เป็นกลุ่ม มีไร่ปลูกข้าว
ปลูกข้าวโพด ได้เรียนหนังสือ และถักทอย่ามและเปล
ถ้าเราไม่สบาย ก็ไปขอยาที่หมอเพื่อรักษา
รักษ์ภาษามลาบรี ๑
ภาษามลาบรี เป็นภาษาที่มีความส?าคัญในเชิง
คุณค่าและมีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานานจาก
บรรพบุรุษผู้รักวิถีสันโดษ แม้ว่าคนมลาบรีจะมีการใช้
ภาษาภายในกลุ่มอย่างเข้มข้น แต่ประชากรมลาบรี
มีอยู่จ?านวนน้อยและชอบอาศัยท่ามกลางป่าเขาตาม
ธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งที่เอื้อต่อการด?ารงชีวิต ได้แก่
อาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้
นับวันจะเหลือน้อยลงทุกที และภาษาก็เริ่มถดถอย
การด?ารงชีวิตของคนมลาบรีเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
ไปตามกระแสวัฒนธรรมของคนเมืองมากขึ้น มีการ
ตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง มีโอกาสทางการศึกษา
มากขึ้น การแต่งกายที่พัฒนาขึ้น เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมา
(พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๒) คนมลาบรีจากบ้านห้วยฮ่อม
พัฒนาและบ้านอื่น ๆ ได้ร่วมมือกันท?าวิจัยเพื่อท้อง
ถิ่นเรื่อง “สร้างระบบตัวเขียนภาษามลาบรีเพื่อ
บันทึกความทรงจ?าทั้งชีวิตของคนมลาบรี” โดย
ได้รับการสนับสนุนเรื่องงบประมาณด?าเนินการจาก
ส?านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โครงการนี้
มีการพัฒนาระบบตัวเขียน จัดเก็บเรื่องราวต่าง ๆ ของ
คนมลาบรีเพื่อเป็นการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรม
ของตน โดยมีระบบพี่เลี้ยงเป็นผู้หนุนเสริมกระบวนการ
ท?าวิจัยและการบริหารจัดการต่าง ๆ
๒
72