Page 69 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 69
นาวาสถาปัตยกรรม
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ
รัชกาลที่ ๙
ยอด เนตรสุวรรณ เรื่อง
ชาวไทยผูกพันกับสายน?้ามาเนิ่นนาน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น?้า
กระทั่งสร้างเป็นเรือนแพลอยอยู่ในแม่น?้าล?าคลองก็เป็นเรื่องปกติ นอกจาก
ได้อาศัยน?้าเพื่ออุปโภคบริโภคและท?าเกษตรกรรมแล้ว ยังใช้แม่น?้าเป็น
หลักในการสัญจรไปมาหาสู่ ค้าขาย และการศึกสงคราม ชาวไทยจึงมี
เรือเป็นพาหนะส?าคัญยิ่งมาแต่โบราณ
เพราะเรือคือพาหนะคู่วิถีชีวิตก่อให้เกิดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาและ
เสริมสร้างความเชี่ยวชาญทั้งการใช้สอยและการสร้างเรือ การรวมกลุ่มกันของ
เรือเนื่องในยามว่างและโอกาสส?าคัญต่าง ๆ ถูกสืบทอดจนกลายเป็นมรดกทาง
วัฒนธรรมประเพณีของชาติ หนึ่งในนั้นเป็นพิธีเก่าแก่และส?าคัญอันเป็นประเพณี
หลวงได้แก่ กระบวนเสด็จพระราชด?าเนินทางน?้าของพระมหากษัตริย์อันเป็น
พระราชประเพณีไทยที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐานชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยา
เรียกอย่างเป็นทางการว่า “กระบวนพยุหยาตราชลมารค”
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เรียกแบบอย่างกระบวนเรือสมัย
นั้นว่า “กระบวนเพชรพวง” เป็นริ้วกระบวนเรือที่ถือเป็นต้นแบบของกระบวนเรือ
หลวงสมัยต่อ ๆ มาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งความยิ่งใหญ่งดงามของกระบวนเรือสมัยสมเด็จ-
พระนารายณ์มหาราชถูกบันทึกไว้โดย นิโคลาส แชแวร์ คณะทูตฝรั่งเศสที่มีโอกาส
ร่วมชม ดังมีข้อความตอนหนึ่งว่า
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๐ 67