Page 73 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 73
การสร้างหรือการต่อเรือเริ่มต้นด้วยการ
แกะสลัก ถากเกา เหลาโกนชิ้นส่วนต่าง ๆ ให้ได้ตาม
แบบรายละเอียดที่ถูกออกแบบมาเป็นอย่างดี จากนั้น
จึงประกอบส่วนโครงสร้างของเรือ คือ กงเรือและ
กระดูกงู ต่อด้วยการปะติดปิดเปลือกเรือ ซึ่งทั้ง
โครงสร้างและเปลือกเรือใช้ไม้ตะเคียนทองที่มี
คุณสมบัติอยู่กับน?้าได้เป็นอย่างดี ส่วนโขนเรือรูป
นารายณ์ทรงสุบรรณรวมทั้งหางเรือใช้ไม้สักทอง
ซึ่งเหมาะส?าหรับแกะสลักลวดลายประณีตวิจิตร
โขนเรือรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ สง่างาม
ต้องตามคติพราหมณ์ ว่าด้วยพญาสุบรรณหรือครุฑ
นั้นเป็นเทพพาหนะของพระนารายณ์ ลักษณะรูป
พระนารายณ์ ๔ กร วรกายประดับด้วยกระจกสีขาบ
หรือสีน?้าเงินเข้ม ทรงเทพศาสตรา ตรี คฑา จักร สังข์
ทรงเครื่องภูษิตาภรณ์ และมงกุฎยอดชัย ประทับยืน
๓
บนหลังพญาสุบรรณที่มีผิวกายเป็นสีแดง มีนาคพันแขน
เกี่ยวขา อย่างที่เรียกครุฑยุดนาค ระหว่างขาของ
๓ พญาสุบรรณเป็นช่องปากกระบอกปืนใหญ่ เครื่องทรง
ของพญาสุบรรณและลวดลายประดับเป็นสีทองค?า
ตัวล?าเรือเป็นสีแดง ส่วนท้ายเรือเป็นลวดลายสร้อย
หางครุฑ ปลายหางสุดของท้ายเรือเป็นกนกหางครุฑ
ท้องลายของท่อนหางเป็นขนครุฑ ทั้งหมดเป็นสีทองค?า
ลวดลายก้านขดหัวครุฑ ลายก้านขดใบเทศ
ต่อลายก้านขดกนกเปลวประดับทั่วไปบนตัวล?าเรือ
เป็นลวดลายที่สร้างขึ้นมาจากแนวลายก้านขดสมัย
อยุธยาผสมกับลายก้านขดสมัยรัตนโกสินทร์
บัลลังก์กัญญา คือบัลลังก์ที่ประทับนั่งตอน
กลางล?าเรือ มีซุ้มประทุนครอบ ส่วนพนักบัลลังก์เป็น
ลายแกะสลักรูปพญาสุบรรณหรือครุฑ ลงรักปิดทอง
ประดับกระจก ประกอบลวดลายพรรณพฤกษาลงรัก
ปิดทอง ไม่ประดับกระจก ประทุนหลังคาเป็นผ้าประดับ
๔ ด้วยแผ่นทองแผ่ลวด ผ้าม่านประดับด้วยทองค?า
แผ่ลวดเช่นเดียวกัน
๑ ส่วนปลายสุดของท้ายเป็นกนกหางครุฑ และลวดลายขนครุฑ ๒ ตลอดล?าเรือ ส่วนท้องเรือทาสีแดงสด ส่วนกาบเรือเป็นลวดลายแกะสลักทาสีทองประดับกระจกสี
๓ พระนารายณ์มีวรกายประดับกระจกสีขาบหรือสีน?้าเงินเข้ม ทรงเทพศาสตราทั้ง ๔ กร ๔ ลายก้านขดหัวครุฑ เป็นลวดลายที่ผสมผสานรระหว่างศิลปะสมัยอยุธยา
และศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์
มกราคม-มีนาคม ๒๕๖๐ 71