Page 72 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 72
“นาวาสถาปัตยกรรมแห่งรัชสมัย”
คือมรดกล?้าค่าของชาติไทยล?าล่าสุด
นาวาสถาปัตยกรรม (Naval Architecture)
หมายถึง เรือที่ถูกออกแบบให้สวยงามและถูกต้อง
ตามทัศนคติ โดยอยู่บนพื้นฐานของหลักวิศวกรรม
ทั้งตอบสนองด้านความต้องการในประโยชน์ใช้สอย
เช่นเดียวกับบ้านเรือนที่เป็นสถาปัตยกรรมบนบก
การสร้างเรือราชพิธีในยุครัตนโกสินทร์ว่างเว้น
มานานกว่า ๘๐ ปี และเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ ๙ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ กองทัพเรือจึงได้มี
หนังสือขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตสร้าง
เรือพระที่นั่งล?าใหม่เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวาย และเรือ
พระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ ล?านี้คือ
ล?าแรกและล?าเดียวแห่งยุคสมัย เป็นเรือที่ทรงคุณค่า
สูงส่งทั้งด้านความส?าคัญและความงดงาม จึงกล่าว ๑
ได้ว่าเป็น “นาวาสถาปัตยกรรมแห่งรัชสมัย”
ขณะเดียวกันยุคสมัยรัตนโกสินทร์เคยมี
การสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณมาแล้ว
ล?าหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๓ นามว่า “เรือมงคลสุบรรณ” โขนเรือ
เป็นประติมากรรมรูปพญาสุบรรณ หรือครุฑพ่าห์
แต่ยังไม่มีรูปพระนารายณ์ทรงประทับ ต่อมาในสมัย
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
ได้มีการเสริมรูปพระนารายณ์ประทับยืนบนหลัง
พญาสุบรรณ แล้วขนานนามใหม่ว่า “เรือนารายณ์
ทรงสุบรรณ” ทว่าเมื่อคราวเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒
เรือล?านี้โดนระเบิดจากสงครามจนล?าเรือเสียหาย
ทั้งหมด คงเหลืออยู่แต่ส่วนหัวโขนรูปพระนารายณ์
ทรงสุบรรณ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถาน ๒
แห่งชาติ เรือพระราชพิธี บางกอกน้อย
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ การออกแบบเขียนแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งการ
เป็นเรือที่สร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด ตามแนวความคิดและ ค?านวณด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ จึงได้สัดส่วนเพื่อ
คติความเชื่อเช่นเดิม ทั้งลักษณะทรวดทรงของเรือ การสร้างจริงอย่างสมบูรณ์แบบทั้งด้านความงามและ
และหัวโขนรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ โดยใช้เทคนิค ความแข็งแรง รวมทั้งทรวดทรงตามหลักพลศาสตร์
70