Page 62 - วารสารวัฒนธรรม ปีที่ ๕๖ ฉบับที่ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๐
P. 62

พระราชพิธีพยุหยาตราสถลมารค

          และชลมารค
               ค?าว่า “กระบวนพยุหยาตรา” หมายถึง ริ้วกระบวน
          เสด็จพระราชด?าเนินของพระมหากษัตริย์ที่แห่ตามโบราณ
          ราชประเพณีทั้งเป็นการส่วนพระองค์และที่เป็นการ
          พระราชพิธี อาทิ พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน พระราชพิธี
          บรมราชาภิเษก การเสด็จพระราชด?าเนินไปนมัสการ
          รอยพระพุทธบาท การอัญเชิญพระพุทธรูปส?าคัญจาก
          หัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวง รวมถึงการต้อนรับ   ๑
          ทูตานุทูต เป็นต้น ซึ่งกระบวนแห่เสด็จพระราชด?าเนิน

          ดังกล่าวมีทั้งโดยทางบก เรียกว่า “กระบวนพยุหยาตรา
          สถลมารค” และทางน?้า เรียกว่า “กระบวนพยุหยาตรา
          ชลมารค”
               กระบวนพยุหยาตราสถลมารค
               กระบวนพยุหยาตราสถลมารค เป็นพระราชพิธีหนึ่ง
          ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ปฏิบัติกันสืบมาตั้งแต่สมัย
          สุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงปัจจุบัน แต่เดิม
          กระบวนพยุหยาตราสถลมารคเป็นการเสด็จพระราชด?าเนิน
          เพื่อประกอบการพระราชพิธีต่าง ๆ ที่ส?าคัญ เช่น ในสมัย
          กรุงศรีอยุธยามีการจัดกระบวนดังกล่าวทุกปีในพระราชพิธี
          สิบสองเดือน โดยพระมหากษัตริย์จะเสด็จสถลมารคเพื่อ   ๒                                                   ๔
          ถวายผ้าพระกฐินแก่พระอารามหลวง ซึ่งกระบวนพยุหยาตรา
          พระกฐินสถลมารคที่ยิ่งใหญ่มีขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
          มหาราช นอกจากนี้ยังมีการจัดกระบวนพยุหยาตราทาง

          สถลมารคที่ควรรู้จักคือ การเสด็จพระราชด?าเนินเลียบ
          พระนครเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
               ตามหลักฐานแต่ครั้งโบราณ การจัดกระบวนแห่
          เสด็จพระราชด?าเนินเลียบพระนครจัดเป็นกระบวน
          พยุหยาตราอย่างมโหฬารเพียบพร้อมด้วยก?าลังทหาร
          เหล่าต่าง ๆ แห่น?าและตามเสด็จองค์พระมหากษัตริย์
          การจัดกระบวนพระบรมราชอิสริยยศ ประโคมกลองชนะ
          แตร สังข์ และในกระบวนพยุหยาตราสถลมารคนี้
          พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าทูลละอองธุลี
          พระบาท และเสนาบดีที่ตามเสด็จในกระบวน ล้วนทรง
          ฉลองพระองค์และแต่งกายอย่างงดงาม พระมหากษัตริย์
          ทรงเครื่องสนับเพลาเชิงงอน พระภูษาเขียนทองฉลอง  ๓



          60
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67