Page 106 - CultureMag2015-3
P. 106
ศิ ล ป ะ ไ ท ย ร่ ว ม ส มั ย
ธชั ชยั วงศ์กจิ ร่งุ เรือง : สมั ภาษณ์
บนั สทิ ธ์ิ บณุ ยะรตั เวช : ถ่ายภาพ
หอภาพยนตร์
กบั การอนรุ กั ษ ์ “หนงั ไทย” ในยคุ ดจิ ทิ ลั
ย้อนกลับไปปี ๒๕๐๙ คณะอนุกรรมการสื่อสารมวลชน ในคณะกรรมการชาติว่าด้วยองค์การยูเนสโกแห่งประเทศไทย
อันมีพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร ซึ่งสนพระทัยเร่ืองการถ่ายภาพยนตร์เป็นประธาน เสนอความคิดในการเก็บ
รักษาภาพยนตร์ โดยให้หอสมุดแห่งชาติรับผิดชอบ ในที่ประชุมเมื่อวันท่ี ๔ ตุลาคมของปีนั้น แต่ก็มิได้มีการด�ำเนินการ
(ต่อยอด) ใดๆ กระทั่งปี ๒๕๒๔ คุณโดม สุขวงศ์ จึงเร่ิมเก็บและอนุรักษ์ฟิล์มภาพยนตร์ไทยยุคเก่า ร่วมกับสาขาวิชา
การถา่ ยภาพและภาพยนตร ์ สถาบนั เทคโนโลยรี าชมงคล วทิ ยาเขตเทคนคิ กรงุ เทพฯ และกรมศลิ ปากร จนกอ่ ตง้ั หอภาพยนตร์
ในสังกัดของกรมศิลปากรขึ้นเป็นผลส�ำเร็จในปี ๒๕๒๗ ทว่าเหตุปัจจัยหลายอย่างกลายเป็นอุปสรรคในการพัฒนาให้เป็นไป
ตามเป้าหมายท่ีตั้งใจไว้ จนเม่ือมีกฎหมายใหม่คือพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. ๒๕๔๒ ทางหอภาพยนตร์เล็งเห็น
ถึงประโยชน์ในการปรับองค์กรให้สามารถท�ำงานได้คล่องตัว และสรรหาบุคลากรได้ง่ายข้ึน จึงน�ำไปสู่กระบวนการผลักดัน
ใหห้ อภาพยนตรแ์ ยกตวั ออกมาเป็นองค์การมหาชนในป ี ๒๕๕๒
วันนี้ในโลกท่ีทุกอย่างเต็มไปด้วยกระแสดิจิทัล จึงน่าสนใจอย่างย่ิงว่าหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จะมีบทบาท
หน้าที่และโครงการท่ีขับเคล่ือนงานเพื่อท�ำนุบ�ำรุงมรดกทางวัฒนธรรมบนแผ่นฟิล์มน้ีอย่างไร ให้ภาพยนตร์ยังเป็นศาสตร ์
ที่เฉกเช่นค�ำขวัญของหอภาพยนตร์น้วี า่ “ภาพยนตรย์ ังให้เกดิ ปญั ญา” สืบไป
104 วฒั นธ รม