Page 121 - Culture1-2018
P. 121
สถาปัตยกรรมมะละกา และปีนัง
ในคาบสมุทรมลายา เรียกศิลปะชนิดนี้ว่า Chino Portuguese
เพราะรากฐานดั้งเดิม คือ โปรตุเกส ฮอลแลนด์ และอังกฤษ แต่เอา
เข้าจริงถึงตอนนี้ มะละกาเขาก็ไม่เรียกศิลปสถาปัตยกรรมลักษณะ
ผสมผสานบนเกาะแห่งนี้ว่า Chino Portuguese แล้วเขาประกาศค�า
ใหม่ว่า Malaccans Architects หรือ Melaka Architecture ซึ่งพูด
ชัดว่าได้รับอิทธิพลส�าคัญจากฮอลันดา ส่วนทางด้านเมืองปีนัง ในวันนี้
ทางโน้นเขาก็บอกชัดว่าสถาปัตยกรรมรูปแบบผสมที่นั่น ได้รับอิทธิพล
จากสถาปัตยกรรมอังกฤษ และเรียกศิลปสถาปัตยกรรมในบ้านเมืองเขา
อย่างภาคภูมิใจว่า สถาปัตยกรรมแบบปีนัง
ส่วนเมืองไทยเรา เมื่อมีการพัฒนาการการท่องเที่ยวมากขึ้น
การท่องเที่ยวภูเก็ตบ้านเราดีกว่ามะละกา และปีนังเสียอีก จึงต้องมี
การสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นของไทยเราเอง เมื่อพิจารณาว่าการผสมผสาน
แบบของบ้านเรามีเอกลักษณ์เฉพาะแบบของไทยไม่เหมือนกับทาง
หมู่เกาะทั้งหลายในมาเลเซีย อินโดนีเซีย และอยู่ในเมืองไทยมาแล้ว
เป็นร้อยปี
เอาจริงเข้า สถาปัตยกรรมการก่อสร้างในอาเซียน บนหมู่เกาะ
และคาบสมุทรทั้งหลายที่ยังคงอยู่ในวันนี้ ก็เป็นการผสมผสาน
แบบที่เรียกว่า Chinese Colonial มากกว่า แนวการก่อสร้างนี้มีมาก
และเด่นชัดที่เกาะปีนัง และลูกหลานชาวภูเก็ตจ�านวนมากสมัยนั้น
ก็เล่าเรียนมาจากเกาะปีนัง ดังนั้น อิทธิพลในเรื่องสถาปัตยกรรมของ การตกแต่งภายในบ้านแบบจีน ของบ้านเลขที่ ๙๘
ภูเก็ตจึงเป็นอิทธิพลจากปีนังอย่างไม่ต้องสงสัย
และที่ส�าคัญคือ อาคารทั้งหลายในเมืองภูเก็ต และตะกั่วป่า
ที่บอกว่าเป็นอาคารแบบ Chino Portuguese นั้น ล้วนมีอายุไม่เกิน
๑๕๐ ปีเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีอิทธิพลโปรตุเกสหลงเหลืออยู่
อย่างแน่นอน การจะเรียกอาคารทั้งหลายในภูเก็ต และตะกั่วป่า
ว่า Chino Portuguese จึงไม่น่าจะสะท้อนความเป็นจริงเท่าใดนัก
บทสรุปบันทึกของผมฉบับนี้ จึงอยากจะจบลงตรงค�ายืนยัน
ที่ว่า สถาปัตยกรรมแบบผสมผสานของบ้านเราในหลายๆ จังหวัด
ภาคใต้ เช่น ภูเก็ต พังงา ระนอง ตรัง นั้นล้วนได้รับอิทธิพลมาจาก
การท�าการค้า และการท�าเหมืองแร่ระหว่างบ้านเรากับเมืองปีนัง
มากกว่าที่อื่นๆ ซึ่งนั่นก็คือ ได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมแบบ
Chino Colonial นั่นเอง การตกแต่งภายในของบ้านบาบ๋าอีกหลังหนึ่ง ในเมืองตะกั่วป่า
มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๑ 119