Page 18 - Culture3-2017
P. 18

เครื่องเคลือบดินเผา จากดินสู่งานศิลปะ



                                                                    ด้วยความสนพระทัยในศิลปะการประดิษฐ์เครื่องเคลือบดินเผา
                                                              แบบโบราณ และทรงเล็งเห็นถึงความส�าคัญในการอนุรักษ์สมบัติศิลป์
                                                              แขนงนี้ อีกทั้งเป็นการสร้างอาชีพเสริมให้ชาวบ้านในท้องถิ่นที่ต้อง
                                                              เผชิญกับปัญหาน�้าท่วมฝนแล้ง ชาวบ้านมีความถนัดและคุ้นเคย
                                                              กับการประดิษฐ์เครื่องปั้นดินเผาเป็นภาชนะใช้สอยในชีวิตประจ�าวัน
                                                              อยู่แล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชด�าริให้
                                                              สร้างศูนย์ศิลปาชีพเครื่องเคลือบดินเผาแห่งแรกขึ้นที่บ้านกุดนาขาม
                                                              จังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖
                                                                    ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งแผนกเครื่องเคลือบดินเผาที่ศูนย์

                                                              ศิลปาชีพอีกหลายแห่ง ทรงมีพระราชด�าริให้พัฒนางานเครื่องเคลือบ
                                                              ดินเผาตั้งแต่การปั้น การเผา การเขียนสี และการเคลือบน�้ายา เพื่อ
                                                              สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ให้มีความสวยงามและคุณภาพดี อีกทั้งทรง
                                                              ส่งเสริมให้ศึกษาศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณจากแหล่งต่าง ๆ
                                                              ของประเทศ เช่น เครื่องปั้นดินเผาของบ้านเชียง เครื่องถ้วยสังคโลก
                                                              ของสุโขทัย เครื่องปั้นดินเผาที่เตาเวียงกาหลง อ�าเภอเวียงป่าเป้า
                                                              จังหวัดเชียงราย และเครื่องถ้วยเบญจรงค์ เพื่อสืบสานเอกลักษณ์
                                                              ของเครื่องปั้นดินเผาไทยให้เป็นมรดกของชาติต่อไป


                                                                     นาฏยลีลาชั้นสูงสู่โขนพระราชทาน


                                                                    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชด�าริ
                                                              ให้ฟื้นฟูศิลปะการแสดงโขน ด้วยทรงตระหนักว่าโขนซึ่งเป็นศิลปะ
                                                              การแสดงชั้นสูงของไทยก�าลังจะเลือนหายไปจากสังคมปัจจุบัน

                                                              เนื่องจากการจัดแสดงโขนนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะใช้ผู้แสดงเป็น
                                                              จ�านวนมาก อีกทั้งเครื่องแต่งกาย เวที ฉาก และอุปกรณ์ที่ประกอบ
                                                              การแสดงล้วนต้องจัดสร้างขึ้นมาอย่างวิจิตรงดงามซึ่งต้องใช้ฝีมือ
                                                              เวลา และงบประมาณสูง จึงมีพระราชปรารภที่จะฟื้นฟูและท�านุบ�ารุง
                                                              การแสดงโขนให้กลับคืนสู่ความนิยมอีกครั้ง รวมทั้งมีพระราชด�าริว่า
                                                              เครื่องแต่งกายโขน และการแต่งหน้าไม่งดงามเหมือนเดิมที่เคยทอด
                                                              พระเนตรมา จึงทรงมอบให้คณะกรรมการอ�านวยการจัดงานสร้าง
                                                              เครื่องแต่งกายโขนละครด�าเนินการตามแนวพระราชด�าริ ถือเป็น
                                                              จุดเริ่มต้นการแสดงโขนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จ-
                                                              พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยจัดการแสดงครั้งแรกเพื่อ
                                                              เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
                                                              บรมนาถบพิตร เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา



          16
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23