Page 118 - E-Book Culture 02_20182
P. 118

“เอ็งจงดูกระจกเงาเถิด” จากนั้นก็ตรัสว่า “เอ็งเห็นรูปเรา
                                                               กับรูปของเอ็งนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง”
                                                                  นายเดื่อกราบทูลว่ารูปพรรณสัณฐานคล้ายกัน สมเด็จ
                                                                 พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงมีพระเมตตา พระราชทานเสื้อผ้าเงินทอง

                                                                  เป็นอันมาก ท�าให้นายเดื่อรู้ว่าที่แท้ตนเองคือพระเจ้า
                                                                   ลูกยาเธอ นับจากนั้นนายเดื่อก็มีทิฐิมานะ แสดงกิริยาที่ไม่
                                                                   บังควรหลายอย่างเช่น เอาพระภูษาทรงที่เจ้าพนักงานตาก
                                                                    อยู่มานุ่งห่ม ใครจะว่ากล่าวก็ไม่ฟัง จนเมื่อเจ้าพนักงาน
                                                                     น�าความไปกราบบังคมทูล พระเจ้าอยู่หัวก็มิได้ถือ ด�ารัส
                                                                      ว่า “อ้ายเดื่อนี้มันบ้าอยู่ อย่าถือมันเลย....”

                                                                           ภายหลังพระเพทราชาได้เป็นกษัตริย์ต่อจาก
                                                                        พระนารายณ์ ส่วนนายเดื่อก็ได้เป็นหลวงสรศักดิ์
                                                                         (เป็นคนที่ชกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ ฝรั่งชาติกรีก
                                                                          จนฟันหัก) และได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินต่อจาก

                                                                          พระเพทราชาตามล�าดับ
                                                                              พระราชประวัติของกษัตริย์ยุคกรุงศรีอยุธยา
                                                                            บางพระองค์สั้นไม่กี่บรรทัด บางพระองค์
                                                                             ยาวหลายหน้า ส่วนพระประวัติของกษัตริย์
                                                                              สมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น ทีแรกเจ้าพระยา
                                                                               ทิพากรวงศ์ (ข�า บุนนาค) ได้เรียบเรียง

                                                                                เฉพาะรัชกาลที่ ๑-๔ ขึ้นก่อน (เขียนแบบ
                                                                                 พระราชพงศาวดาร) แล้วสมเด็จฯ
                                                                                 กรมพระยาด�ารงราชานุภาพจึงทรง
                                                                                  เรียบเรียงพระราชประวัติพระบาท
                                                                         สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ต่อมา

                                                                แต่ก็ทรงไปได้แค่ไม่กี่ตอน ส่วนพระราชประวัติรัชกาลที่ ๖-๗-
                                                               ๘-๙ มักมีแต่ฉบับสั้น และไม่ได้เขียนแบบพระราชพงศาวดาร
                                    สมุดประวัติข้าราชการ       สมัยก่อน
                                    เอนก นาวิกมูล ถ่ายภาพ
                                                                   ประวัติของขุนนาง เจ้านาย และคนธรรมดาเริ่มมาเขียนกัน
                                                               อย่างเป็นเรื่องเป็นราวเมื่อราวสมัยรัชกาลที่ ๔ ประวัติที่ว่ามีทั้ง
                                                               แบบเจ้าตัวเขียนเอง และคนอื่นเขียนให้






     116
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123