Page 115 - E-Book Culture 02_20182
P. 115

ตามประวัติว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
           รัชกาลที่ ๔ (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) เมื่อยังทรงผนวช
           ได้ไปพบจารึกนี้ ณ เนินปราสาทเก่า จ.สุโขทัย เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖
           (๑๙๐ ปีมาแล้วนับจาก พ.ศ. ๒๕๖๑)

               เนื้อหาของจารึกว่าด้วยด้วยประวัติของพ่อขุนรามค�าแหง
           ตั้งแต่ประสูติ จนเสวยราชย์ ตอนแรกใช้สรรพนามว่า “กู” แต่
           ตอนหลังใช้สรรพนามว่าพ่อขุนรามค�าแหง แสดงว่าอาจมีคนอื่น
           เขียนจารึกต่อ (ดูหนังสือ ประชุมจารึกสยาม ภาคที่ ๑
           งานพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระยามุขมนตรี (อวบ เปาโรหิตย์)
           พ.ศ. ๒๔๗๗)

               ถึงยุค ๒๕๓๐ นักวิชาการ เช่น ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ กับ
           ไมเคิล ไรท์ ได้เขียนบทความเสนอในท�านองว่าจารึกนี้อาจไม่เก่า
           ถึงสมัยสุโขทัยจริงๆ และอาจเป็นของท�าในสมัยรัชกาลที่ ๔ ท�าให้
           เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์โต้แย้งชี้แจงกันกระหึ่มอยู่นาน แต่ไม่ว่า

           อย่างไร จารึกชิ้นนี้ก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น “มรดกความทรงจ�า
           แห่งโลก” โดยยูเนสโกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ และยังเป็นปริศนา
           คาใจแก่คนที่สนใจประวัติศาสตร์อยู่เสมอ
               ประวัติคนในยุคเก่าๆ มักเขียนบนก้อนหินที่สลักทรง
           อย่างประณีต ไม่ใช่เอาหินขรุขระๆ มาเขียนแบบขอไปที ต่อมา
           ภายหลังจึงเขียนลงบนกระดาษ

               ประวัติพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยามักอยู่บนกระดาษ
           ที่เรียกว่าจดหมายเหตุ ซึ่งเมื่อน�าจดหมายเหตุมาเรียงต่อกันยาวๆ
           ก็เกิดเป็นพระราชพงศาวดารขึ้น
               ในพระนิพนธ์ เรื่อง “ต�านานหนังสือพระราชพงศาวดาร”
           ของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพ สมเด็จฯ ทรงกล่าวว่า

           ธรรมเนียมเก่าของเรา ผู้ที่มีหน้าที่จดบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ เก็บ
           ในหอศาสตราคมคือมหาดเล็กต�าแหน่งนายเสน่ห์ กับนายสุจินดา
           หุ้มแพร (ท�าไมใช้ว่าเสน่ห์หรือหุ้มแพร ยังไม่อาจค้นได้)






                                                                                 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒
                                                                              (ครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๕๒-๒๓๖๗) ภาพจากหอศิลป์เจ้าฟ้า
                                                                                       เอนก นาวิกมูล ถ่ายภาพ : หอศิลป์เจ้าฟ้า



                                                                                               เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑  113
   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120