Page 114 - E-Book Culture 02_20182
P. 114
กรณีสมุดทะเบียนประวัติข้าราชการนั้น ม.จ.หญิง
พูนพิศสมัย ดิศกุล พระธิดาของสมเด็จฯ กรมพระยาด�ารง
ราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้สั้นๆ ในหนังสือชื่อ พระราชวงศ์จักรี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ (สิ่งที่ข้าพเจ้าพบเห็นสมัยรัชกาล
ที่ ๖) ส�านักพิมพ์มติชนจัดพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ หน้า ๑๖๖ ว่าเมื่อ
สมเด็จฯ กรมพระยาด�ารงราชานุภาพทรงเป็นเสนาบดีกระทรวง
มุรธาธรใน พ.ศ. ๒๔๖๖ ได้มีการท�าสมุดประจ�าตัวข้าราชการขึ้น
แต่ไม่ทรงเล่ารายละเอียดว่าใครเป็นคนคิดรูปแบบ ผู้เขียน (เอนก)
อ่านแล้วอยากจะจดเป็นหมายเหตุไว้แค่นี้ก่อน เผื่อมีการค้นคว้า
เรื่องสมุดข้าราชการ ก็จะได้มีหลักหมุดหมายเป็นที่สังเกตไว้
สมุดข้าราชการเป็นหลักฐานส�าคัญคือ ท�าให้ได้เห็นว่าคนๆ
นั้นเป็นบุตรของใคร เกิดเมื่อใด รับราชการในต�าแหน่งอะไร
ที่ไหนบ้าง ผู้เขียนเคยเห็นสมุดดังว่านี้ผ่านตาอยู่บ้าง แต่ไม่ได้คิด
เก็บไว้ดู พอถึงเวลาหารูปประกอบ ก็ต้องใช้เวลาค้นหาอยู่
พอสมควร
สมุดประวัติข้าราชการมีแล้ว แต่สมุดคนอื่นๆ เล่า มีใคร
เขียนไว้อย่างไรบ้างไหม
ประวัติพระพุทธเจ้านั้นต้องถือว่าเป็นประวัติมนุษย์
ที่เก่าแก่มาก เพราะพระสาวกได้จดจ�าและจารึกต่อๆ กันมา
ไม่ต�่ากว่า ๒,๕๐๐ ปี พระพุทธเจ้าเป็นพระศาสดาที่มีประวัติ
ยืดยาวมากอย่างไม่น่าเชื่อ บางเรื่องก็คงเป็นเรื่องจริง แต่บางเรื่อง
ก็เป็นการเล่าอย่างพิสดาร เสริมอภินิหารให้ดูยิ่งใหญ่ขึ้น
อย่างมโหฬาร ใครจะเชื่อ หรือไม่เชื่อก็ได้
เมื่อราวเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ก็มีนักโซเชียลมีเดีย
คนหนึ่งประกาศในเฟซด้วยท่าทีดุเดือดว่าเรื่องพระพุทธเจ้าประสูติ
แล้วเดินได้เจ็ดก้าวทันทีเป็นเรื่องเกินเชื่อ จากนั้นก็มีคน
ชี้แจง-โต้แย้ง-ขว้างก้อนหินและก่นด่าด้วยค�าหยาบกันเต็มไปหมด
รูปหล่อจ�าลองสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประวัติของพระมหากษัตริย์ที่เก่าแก่มากของไทย น่าจะเป็น
(ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๑๙๙-๒๒๓๑) ประวัติของพ่อขุนรามค�าแหงเมื่อ ๗๐๐ กว่าปีก่อนที่ทรงจารึกไว้
เอนก นาวิกมูล ถ่ายภาพ : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ วังนารายณ์ ลพบุรี
บนศิลารูปสี่เหลี่ยมยอดแหลม ศิลาเก่าแก่นี้ ปัจจุบันเก็บอยู่ใน
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร
112