Page 105 - E-Book Culture 02_20182
P. 105
ตลาดน�้าอโยธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
ช่วง ๗๐ ปีที่ผ่านมา เกิดการเปลี่ยนแปลงเส้นทางขนส่งหลายประการ ตัวอย่างหนึ่ง
ได้แก่ การตัดถนนมาลัยแมน สายนครปฐม–สุพรรณบุรี (เดิมชื่อ ทางหลวงแผ่นดิน
สายนครปฐม-สุพรรณบุรี) ในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ เริ่มต้นจากสามแยกมาลัยแมน อ�าเภอ
เมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ผ่านอ�าเภอก�าแพงแสน เข้าสู่เขตจังหวัดสุพรรณบุรี
ผ่านอ�าเภอสองพี่น้อง อ�าเภออู่ทอง สิ้นสุดที่อ�าเภอเมืองสุพรรณบุรี ถือเป็นจุดเปลี่ยน
ส�าคัญเพราะเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดสุพรรณบุรีไปกรุงเทพมหานคร
ผ่านจังหวัดนครปฐม แทนการคมนาคมทางเรือผ่านแม่น�้านครชัยศรี มาเป็นเส้นทาง
คมนาคมจากภาคใต้มุ่งสู่ภาคเหนือโดยไม่ผ่านกรุงเทพมหานคร ถนนมาลัยแมนเส้นนี้
ท�าให้เศรษฐกิจของเมืองต่างๆ ตามเส้นทางฟื้นตัวขึ้น
อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าการเติบโตหรือเสื่อมโทรมของเมืองท่าและเมืองใหญ่หนึ่งๆ
เกิดได้จากปัจจัยภายใน ประกอบด้วยต�าแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร และปัจจัย
ภาพบรรยากาศของตลาดน�้าในปัจจุบัน
ภายนอกคือความสัมพันธ์ทางการเมืองการปกครองกับชุมชนต่างๆ รวมถึงการน�าเข้า
สิ่งประดิษฐ์หรือการประยุกต์เทคโนโลยี
ส่วนวัฒนธรรมประดิษฐ์ เช่น การรณรงค์แต่งชุดไทยส�าเร็จรูปไป แชะ ชอป ชิม และ
เช็คอินตามตลาดน�้าเนรมิตใหม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ไม่เกี่ยวกับพัฒนาการและ
ความเสื่อมถอยของการเป็นเมืองใหญ่สมัยโบราณ แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับแผนการตลาด
โดยใช้เรื่องราวในอดีตมาเป็นสินค้า แล้วขนส่งสินค้าผ่านช่องทางอากาศในโลกไซเบอร์
เป็นหลัก
บรรณานุกรม
ตรงใจ หุตางกูร, ดร. “การตีความใหม่เรื่องขอบเขตแนวชายฝั่งทะเลโบราณสมัยทวารวดีบนที่ราบภาคกลางตอนล่าง” ในวารสาร
ด�ารงวิชาการ, คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. (มกราคม-มิถุนายน, ๒๕๕๗)
ศรีศักร วัลลิโภดม, “จับเข่าคุย” รอยเท้าเล่าเรื่อง เส้นทางเศรษฐี. ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๕
เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑ 103