Page 101 - E-Book Culture 02_20182
P. 101
“ตลาด” จึงเป็นจุดเริ่มต้น เป็นสถานที่กลางส�าหรับ
แลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของคนทุกระดับชั้น เป็นที่พบปะ เจรจา
ตกลงความต้องการกัน ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการ และยังเป็น
ปัจจัยพื้นฐานของก�าเนิด “ชุมชนเมือง” อีกด้วย
ล�าน�้า เรือ กับตลาด
ปัจจัยพื้นฐานของพัฒนาการจากชุมชนเดี่ยวมาเป็นชุมชน
ขนาดใหญ่ระดับ “เมืองท่า” นั่นคือ “แหล่งน�้าจืด” ส�าหรับอุปโภค
และบริโภค การตั้งถิ่นฐานจึงมักตั้งริมน�้าหรือไม่ไกลจากน�้า เมื่อ
ชุมชนขยายตัวก็ขยายไปตามเงื่อนไขของแหล่งน�้า การสัญจรจะ
ใช้ล�าน�้าเป็นเส้นทางหลักโดยเฉพาะอย่างยิ่งการสัญจรบริเวณ
พื้นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น�้าซึ่งลักษณะภูมิประเทศเกิดจากการทับถม
ชายเลนปากแม่น�้า หรือการถดถอยของชายฝั่งทะเล
ในอดีต ตลาดมักเป็นเรือนแพตามล�าน�้า บ้านบนฝั่งจึง
มีหน้าบ้านหรือหน้าร้านหันลงสู่ทางน�้าเพื่อรองรับการเข้าถึง
การคมนาคมทางน�้า ต่อมาเมื่อมีการตัดถนนจึงเปลี่ยนทิศทาง
หน้าบ้านให้หันออกถนน สู่เส้นทางคมนาคมอื่นๆ ที่สะดวกกว่า
รวดเร็วกว่า เช่น ทางรถไฟ และถนนรถยนต์ เป็นต้น
เมื่อเส้นทางสัญจรของชุมชนที่ราบลุ่มริมฝั่งน�้าจ�าเป็นต้อง
ใช้เรือเป็นหลัก เรือจึงมีรูปแบบและขนาดแตกต่างหลากหลาย
ตามหน้าที่ใช้สอย และลักษณะภูมิประเทศ การขนส่งทางเรือ
เป็นการขนส่งสัมภาระขนาดใหญ่ จ�านวนมาก ปริมาณสินค้าจึง
สามารถเพิ่มจ�านวนตามอุปสงค์ ขนาดของตลาดจึงขยายตัว
ตามไปด้วย
ครั้นปริมาณสินค้าเพิ่มขึ้นด้วยปัจจัยใดๆ ก็ย่อมมีการขยาย
ตัวของตลาดจากจุดศูนย์กลางเล็กๆ มีต�าแหน่งอยู่บนชุมทาง
สัญจรมากกว่าหนึ่งทาง พัฒนาไปสู่การสร้างคลังสินค้า เกิดระบบ
พ่อค้าคนกลาง และขยายสู่สถานะชุมทางการค้าในที่สุด
“ชุมทางการค้า” คือแหล่งชุมนุมของเส้นทางขนส่ง
สินค้า แม้ในสังคมอุตสาหกรรมจะมีกลไกอื่นๆ ทั้งแรงงาน
และเครื่องจักรกลเพิ่มขึ้น หากพื้นฐานส�าคัญยังคงเกี่ยวข้อง
กับเส้นทางขนส่งสินค้า ขนาดของตลาดจึงขึ้นอยู่กับพื้นที่
ขนถ่ายสินค้า ปริมาณสินค้า อุปสงค์ อุปทาน รวมไปถึงขนาด
และจ�านวนของเส้นทางขนส่งสินค้าด้วย ดังจะเห็นได้จากตลาดน�้า
ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น ตลาดน�้าอัมพวา ตลาดน�้า
ตลาดอัมพวา เป็นทั้งตลาดน�้า ตลาดบก ด�าเนินสะดวกฯลฯ ล้วนตั้งอยู่บนเส้นทางเชื่อมต่อล�าน�้าสาขา
และเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ
ภาพ : วิจิตต์ แซ่เฮ้ง สายส�าคัญ หรือเป็นเส้นทางติดต่อกับ “ดินแดนภายใน” อื่นๆ
เมษายน - มิถุนายน ๒๕๖๑ 99