Page 53 - Culture3-2017
P. 53
ประเพณี
กองบรรณาธิการ เรื่อง
สายพิรุณแห่งศรัทธา
พิธีกรรมขอฝน
ของคนไทย
ชุมชนดั้งเดิมในแถบอุษาคเนย์และภูมิภาคอื่น ๆ ล้วน
เริ่มต้นเป็นสังคมเกษตรกรรม ยังชีพด้วยการปลูกพืชไร่และท�านา
เป็นหลัก ผู้คนจึงสัมพันธ์ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ดิน ฟ้า อากาศ
และพึ่งพาน�้าฝนเพื่อหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหารที่ปลูกไว้ให้
อุดมสมบูรณ์ หากปีใดที่ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลก็อาจเกิดสภาวะ
แห้งแล้งกันดารคุกคามจนพืชไร่ล้มตาย คนในยุคโบราณที่เคารพ
สิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติจึงคิดประกอบพิธีกรรมขอฝนขึ้น
เพื่อเซ่นสรวงบูชาต่อพญาแถนหรือเทพองค์อื่นบนท้องฟ้าช่วย
ดลบันดาลให้ฝนตกลงมาสู่ผืนดิน
แม้กาลเวลาผ่านไปรากฐานความเชื่อดังกล่าวยังส่งผ่านมาสู่
ยุคหลัง โดยที่พิธีกรรมขอฝนแต่ละท้องถิ่นมีรายละเอียดแตกต่างกัน
ไปตามภูมิหลังและวัฒนธรรมของหลากหลายกลุ่มชน
ดังเช่น กลองมโหระทึกท�าจากสัมฤทธิ์ อายุกว่า ๓,๐๐๐ ปี ที่พบ
จากหลายพื้นที่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ เรียกกันว่า “กลองกบ” เพราะมี
ลวดลายบนหน้ากลองเป็นรูปกบ เชื่อกันว่าเป็นกลองที่ใช้ตีในพิธีขอฝน
รวมทั้งภาพเขียนสีอายุนับพันปีบนหน้าผาหรือภายในถ�้าซึ่ง
เป็นสถานที่ประกอบพิธีศักดิ์สิทธิ์ของคนโบราณ เป็นรูปคนกางแขนขา
ท�าท่าคล้ายกบ พบมากในเขตชุมชนชาวจ้วงของจีน เช่น ที่ผาลายใน
มณฑลกวางสี และอีกหลายแห่งในประเทศไทย เช่น ที่ผาแต้ม ริมฝั่งโขง
จังหวัดอุบลราชธานี เขาจันทน์งาม จังหวัดนครราชสีมา และเขาปลาร้า
การจุดบั้งไฟเพื่อขอฝนของชาวอีสาน จังหวัดอุทัยธานี
กรกฎาคม-กันยายน ๒๕๖๐ 51