Page 84 - Culture1-2018
P. 84

(ภาพพิมพ์) จากมหาวิทยาลัยศิลปากรในปี

          พ.ศ. ๒๕๔๓
              อาจารย์ประหยัด พงษ์ด�า ได้คิดค้น
          สร้างสรรค์กรรมวิธีภาพพิมพ์ด้วยเทคนิควิธี
          แปลกใหม่ อันเป็นคุณประโยชน์อย่างมากต่อ
          วงการศิลปะภาพพิมพ์ รวมทั้งยังเป็นผู้ริเริ่ม

          ออกแบบดวงตราไปรษณียากรของไทยให้มี
          ความงดงาม โดยน�าเอกลักษณ์ของไทยที่มี
          แบบอย่างในทางศิลปวัฒนธรรมที่งดงามมา
          ออกแบบเป็นดวงตราไปรษณียากร จนได้รับ
          รางวัลทั้งในและต่างประเทศ
              ผลงานศิลปะของอาจารย์ประหยัด

          มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อิทธิพลในการสร้างงาน
          ของอาจารย์มาจากวัยเด็กที่อยู่ในสภาพ
          แวดล้อมแบบชนบท มีความผูกพันกับ
          รูปทรงของสัตว์ประเภทต่างๆ ภาพแม่ลูก

          ภาพสัตว์ต่างๆ เช่น ไก่ แมว ม้า ปลา นกฮูก   ๑
          หรือนกเค้าแมว ฯลฯ ล้วนแล้วแต่ใช้เทคนิค
          พิเศษในการสร้างสรรค์ให้ดวงตาของสัตว์  ๑.  ทะเลสาป Bracciano อิตาลี พ.ศ. ๒๕๐๓
          ในภาพเป็นสีทองแวววาว แม้ว่าบางภาพผ่าน  ๒. ภาพถ่ายรวมบัณฑิตรับปริญญาครั้งแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร
          กาลเวลามาร่วมสี่สิบปีแล้วสีทองยังสวยสุกใส    ศาสตราจารย์เกียรติคุณประหยัด พงษ์ด�า คนที่ ๖ จากซ้าย




                                                                                  ท่านฝากผลงานในวงการศิลปะไว้
                                                                             มากมาย แม้ว่าจะเกษียณอายุราชการไปแล้ว
                                                                             ท่านยังรับเชิญเป็นอาจารย์สอนพิเศษที่
                                                                             คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์
                                                                             จนกระทั่งจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ ๑๙

                                                                             กันยายน ๒๕๕๗ สิริอายุอายุ ๗๙ ปี แม้ว่า
                                                                             อาจารย์ประหยัด พงษ์ด�า จะจากไปแล้ว
                                                                             ผลงานอันทรงคุณค่าของท่านจะปรากฏอยู่
                                                                             ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและชื่นชมไปอีกนาน

                                                                             ดังค�ากล่าวของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
                                                                             ในภาษาอิตาลีที่ว่า Ars Longa Vita Brevis
                                                                             “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”


                                                                       ๒


     82
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89